แบบทดสอบฟิสิกส์

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
การศึกษาวิชาฟิสิกส์
คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1.  ต้นวัดเส้นผ่านศูนย์กลางของเหรียญอันหนึ่ง 3 ครั้ง   ได้เท่ากับ 2.542, 2.532 และ 2.54 เซนติเมตร ค่าเฉลี่ยของเหรียญเป็นเท่าไร
1. 2.538 เซนติเมตร
2. 2.532 เซนติเมตร
3. 2.53 เซนติเมตร       
4. 2.542 เซนติเมตร
5. 2.54 เซนติเมตร       
2.ข้อใดต่อไปนี้เป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ใช้พิสูจน์ความจริงต่าง ๆ
     1. การทดลอง                 2. การบันทึกข้อมูล
     3. ความเชื่อ                   4. ทฤษฎี
     5. การสังเกต                 
3.  ข้อใดคือปริมาณเวกเตอร์ทั้งหมด
1. โมเมนตัม แรง พลังงาน         
2. เวลา ปริมาตร ความหนาแน่น  
3. ความเร่ง การกระจัด ระยะทาง
4. มวล น้ำหนัก พลังงาน
5. ความเร็ว ความเร่ง การกระจัด
4. การอ่านค่าจากเครื่องวัดแบบแสดงผลด้วยตัวเลขมีหลักการอย่างไร
1. ประมาณความคลาดเคลื่อนทุกครั้ง        
2. อ่านตามที่เห็นจริง ๆ จากจอภาพ
3. ต้องประมาณตัวเลขตัวสุดท้าย 1 ตัว        
4. ต้องวัดหลายครั้งแล้วหาค่าเฉลี่ย
5. ให้หน้าจอแสดงผลอยู่ในระดับสายตา
5.  ความยาว 0.000007 เมตร มีค่าตรงกับข้อใด
1. 7 ไมโครเมตร             
2. 7.0 × 10-5 เมตร
3. 7 นาโนเมตร              
4. 7.0 × 10-4 เมตร
5. 7 เมกะเมตร

6. นำแผ่นไม้สี่เหลี่ยมผืนผ้ามาวัดความกว้างได้ 12.5 ± 0.1 เมตร และวัดความยาวได้ 20.0 ± 0.2 เมตร จงหาพื้นที่ของแผ่นไม้
     1. (2.80 ± 0.03) × 102 ตารางเมตร
     2. (2.50 ± 0.05) × 102 ตารางเมตร
     3. (2.50 × 102 ± 0.05) ตารางเมตร          
     4. (2.80 × 102 ± 0.03) ตารางเมตร
     5. (2.50 ± 0.03) × 102 ตารางเมตร
7. นักเรียนคนหนึ่งใช้ไมโครมิเตอร์วัดเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นผม ได้ 3.004 มิลลิเมตร ค่าที่วัดได้จะมีเลขนัยสำคัญกี่ตัว
     1. 5 ตัว                                   2. 4 ตัว
     3. 3 ตัว                                   4. 2 ตัว
     5. 1 ตัว                                     
8.  จงหาผลรวมของ 3.15 × 10-3 และ 7.54 × 10-2 ตามหลักเลขนัยสำคัญ
     1. 7.855 × 10-3                        2. 78.55 × 10-3
     3. 7.86 × 10-2                          4. 10.94 × 10-2
     5. 7.855 × 10-4
9. ข้อใดคือผลรวมของ2.50มิลลิเมตรและ 7.2เซนติเมตร       ตามหลักเลขนัยสำคัญ
     1. 7.4 เซนติเมตร                       2. 7.45 เซนติเมตร
     3. 7.450 เซนติเมตร                   4. 7.5 เซนติเมตร
     5. 7.55 เซนติเมตร
10. เลขนัยสำคัญ คืออะไร
     1. เลขที่วัดได้จริงๆ จากเครื่องมือวัด
2. เลขที่อ่านได้จากเครื่องมือวัดแบบขีดสเกลรวมกับตัวเลขที่ประมาณอีก 1 ตัว
3. เลขที่ประมาณขึ้นมาในการวัด
4. เลขที่บอกความละเอียดของเครื่องมือวัด
5. ข้อ 1. และ 2. ถูก


หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
การเคลื่อนที่ในแนวตรง
คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1.   ต้นเดินรอบสนามซึ่งมีรัศมี 7 เมตร โดยเขาเดินได้ครบ 3 รอบ พอดี การกระจัดที่ต้นเคลื่อนที่ได้เป็นเท่าใด 
     1. 0 เมตร                  
     2. 7 เมตร
     3. 10 เมตร                 
     4. 21 เมตร
     5. 303 เมตร
              
2.   วัตถุเคลื่อนที่ด้วย “ความเร่งคงตัว” หมายความว่าอย่างไร
1. ความเร็วต้นและความเร็วปลายของวัตถุเป็นศูนย์
2. ความเร็วต้นและความเร็วปลายมีขนาดเท่ากัน
3. ความเร็วของวัตถุเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
4. ความเร็วของวัตถุที่เปลี่ยนไปมีค่าเท่ากันทุกๆ วินาที
5. ข้อ 2. และ 4. ถูก 
    
3.   วัตถุใดต่อไปนี้กำลังเคลื่อนที่โดยไม่มีความเร่ง
1. บอลลูนลอยขึ้นในแนวดิ่งด้วยความเร็วคงตัว 
2. รถยนต์กำลังแล่นด้วยอัตราเร็วสม่ำเสมอในทางโค้ง
3. รถยนต์กำลังถอยหลังเข้าจอดในโรงรถ 
4. ยิงปืนจากหน้าผาขึ้นไปในแนวดิ่ง
5. ขนนกกาลังปลิวลงในแนวดิ่ง
    
4.   ข้อใดต่อไปนี้ไม่จัดเป็นปริมาณเวกเตอร์
1. ความเร็ว                   
2. ความเร่ง
3. การกระจัด                
4. อัตราเร็ว
5. แรง

5.  โยนส้มผลหนึ่งขึ้นไปในแนวดิ่ง ความเร็วและความเร่งของส้มเป็นอย่างไร ขณะถึงจุดสูงสุด
1. ทั้งความเร็วและความเร่งเป็นศูนย์ 
2. ทั้งความเร็วและความเร่งไม่เป็นศูนย์
3. ความเร็วเป็นศูนย์ แต่ความเร่งไม่เป็นศูนย์
4. ความเร่งเป็นศูนย์ แต่ความเร็วไม่เป็นศูนย์
5. ความเร่งและความเร็วมีค่าเท่ากัน

6.   การคำนวณหาความเร็วเฉลี่ยของวัตถุ จะต้องได้ข้อมูลอะไรบ้าง
1. ระยะทางทั้งหมดและเวลาทั้งหมด 
2. การกระจัดทั้งหมดและเวลาทั้งหมด
3. ระยะทางและความเร่ง 
4. การกระจัดและความเร่ง
5. ความเร่งและความเร็ว
7.   โยนลูกบอลขึ้นไปในแนวดิ่ง ความเร็วของก้อนหินเป็นไปตามข้อใด ถ้า g = 10 m/s2
     1. เพิ่มขึ้นวินาทีละ 10 m/s         
     2. ลดลงวินาทีละ 10 m/s
     3. เป็นศูนย์เมื่อถึงจุดสูงสุด          
     4. ข้อ 2 และ 3 ถูก
     5. ข้อ 1 2 และ 3 ถูก   
8.  จิ๊บขับรถออกจากไฟแดงด้วยความเร่ง 4 m/s2 อยากทราบว่าในเวลา 5 s ต่อมารถจะมีขนาดของความเร็วเท่าใด
     1. 5 m/s                           2. 10 m/s
     3. 15 m/s                         4. 20 m/s
     5. 25 m/s
9.  ระยะทางและการกระจัดแตกต่างกันอย่างไร
     1. มีหน่วยการวัดแตกต่างกัน
     2. ระยะทางเป็นปริมาณสเกลาร์ การกระจัดเป็นปริมาณเวกเตอร์
     3. การกระจัดเป็นปริมาณสเกลาร์ ระยะทางเป็นปริมาณเวกเตอร์
     4. ระยะทางมีค่ามากกว่าการกระจัดเสมอ
     5. ข้อ 2. และ 4. ถูก
10.   ปล่อยก้อนหินให้ตกลงมาจากตึก ความเร็วของก้อนหินเป็นไปตามข้อใด ถ้า g = 10 m/s2
1. เพิ่มขึ้นวินาทีละ 10 m/s         
2. เป็นศูนย์ ณ จุดปล่อย
3. มากที่สุดขณะกระทบพื้น         
4. ข้อ 1 และ 3 ถูก
5. ถูกทั้งข้อ 1 2 และ 3


หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
แรงและกฎการเคลื่อนที่
คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1.   ในระบบเอสไอแรงมีหน่วยเป็นอะไร
     1. กิโลกรัม                         2. นิวตัน
     3. กรัม                             4. ตัน
     5. เมตร
2.   กฎข้อที่ 3 ของนิวตันพูดถึงแรงคู่กิริยาและปฏิกิริยา ข้อใดกล่าวถึงแรงคู่นี้ไม่ถูกต้อง
1. แรงคู่นี้เกิดที่เวลาเดียวกัน       
2. แรงคู่นี้มีขนาดเท่ากัน
3. แรงคู่นี้จะต้องกระทบบนวัตถุคนละก้อน 
4. แรงคู่นี้จะต้องมีทิศตรงกันข้ามเสมอ
5. แรงคู่นี้มีขนาดเท่ากันและมีทิศตรงกันข้าม ดังนั้นวัตถุจึงอยู่ในสภาพสมดุล
3.   ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถูกต้อง
1. แรงเสียดทานเป็นปริมาณเวกตอร์ 
2. แรงเสียดทานมีทิศทางเดียวกับการเคลื่อนที่เสมอ
3. รถยนต์มักลื่นไถลบนถนนที่มีน้ำมันหกรดถนน
4. แรงเสียดทานเกิดขึ้นเมื่อวัตถุ 2 ชิ้น สัมผัสกัน
5. พื้นถนนเปียกมีแรงเสียดทานน้อยกว่าพื้นถนนแห้ง 
4.   ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับแรงเสียดทานระหว่างล้อกับถนน
1. พื้นที่หน้ายาง              
2. น้ำหนักของรถ
3. ลักษณะพื้นผิวถนน       
4. ลักษณะของดอกยาง
5. ไม่มีข้อถูก                          
5.  ข้อใดต่อไปนี้ให้ความหมายของแรงได้ถูกต้องที่สุด
1. สภาพการเคลื่อนที่ของวัตถุ
2. ปริมาณที่มีแต่ขนาด
3. ปริมาณที่ทำให้วัตถุรักษาสภาพการเคลื่อนที่
4. ปริมาณเวกเตอร์ที่จะเปลี่ยนสภาพ
     5. ข้อ 2. และ 4. ถูก
6.   ข้อใดกล่าวเกี่ยวกับแรงได้ถูกต้องที่สุด
1. เป็นปริมาณเวกเตอร์ เพราะมีแต่ขนาด 
2. เป็นปริมาณเวกเตอร์ เพราะมีขนาดและทิศทาง
3. เป็นปริมาณสเกลาร์ เพราะมีแต่ขนาด 
4. เป็นปริมาณสเกลาร์ เพราะมีแต่ทิศทาง
5. เป็นปริมาณสเกลาร์ เพราะมีขนาดและทิศทาง
7.   ข้อใดเป็นหน่วยค่าคงตัวโน้มถ่วงสากล 
     1. m/s2                     2. km/s2
     3. N/m2kg2                4. m3s2/kg
     5. m2/kg2 
  8.   ต้นยืนอยู่บนตาชั่งในลิฟต์ที่กำลังเคลื่อนที่ลง น้ำหนักของต้นมีค่าเท่ากับเท่าใด
9.  แรงลัพธ์ที่กระทำให้วัตถุเคลื่อนที่นั้นจะมีขนาดของแรงมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสิ่งใด
     1. มวลของวัตถุกับความเร่งของวัตถุ
     2. น้ำหนักของวัตถุกับความเร็วของวัตถุ
     3. ปริมาตรของวัตถุ
     4. ความหนาแน่นของวัตถุกับความเร็วของวัตถุ
     5. มวลของวัตถุกับความเร็วของวัตถุ
10.   ในขณะที่ดึงมวลขึ้นในแนวดิ่ง สามารถหาค่าแรงดึงเชือกได้จากสมการใด
   

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4
การเคลื่อนที่แนวโค้ง
คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1.   ขว้างก้อนหินด้วยความเร็ว 15 เมตร/วินาที ตามแนวระดับจากยอดตึกสูง 100 เมตร เมื่อเวลาผ่านไป 4 วินาที วัตถุมีขนาดการกระจัดเท่าใด             
     1. 100 เมตร                
     2. 145 เมตร
     3. 150 เมตร                
     4. 160 เมตร
     5. 190 เมตร
2.   ความถี่ของการเคลื่อนที่มีความหมายตรงกับข้อใด
1. เวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่ครบ 1 รอบ
2. จำนวนรอบที่เคลื่อนที่ได้ใน 1 วินาที
3. ระยะทางในการเคลื่อนที่ได้ใน 1 รอบ  
4. ความเร็วของวัตถุในการเคลื่อนที่
5. ความเร่งของวัตถุในการเคลื่อนที่  
3.   คาบของการเคลื่อนที่มีความหมายตรงกับข้อใด
1. เวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่ครบ 1 รอบ  
2. จำนวนรอบที่เคลื่อนที่ได้ใน 1 วินาที
3. ระยะทางในการเคลื่อนที่ได้ใน 1 รอบ
4. ความเร็วของวัตถุในการเคลื่อนที่
5. ความเร่งของวัตถุในการเคลื่อนที่
4.   ขว้างวัตถุด้วยอัตราเร็วคงตัวค่าหนึ่งจะได้ระยะทางตามแนวระดับมากที่สุดเมื่อขว้างทำมุมกี่องศา 
     1. 30                   
     2. 45
     3. 53                
     4. 60
5. 90      
5.  ข้อใดกล่าวถูกต้องกับการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์
1. แรงและความเร่งมีค่าคงตัวเสมอ
2. วัตถุตกไกลสุดเมื่อมุมยิง 60 องศา
3. ณ ตำแหน่งสูงสุด วัตถุไม่มีความเร่ง
4. ณ ตำแหน่งสูงสุด ความเร็วมีค่าเป็นศูนย์
5. ข้อ 1. และ 4. ถูก

6.   การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์เป็นการเคลื่อนที่ลักษณะใด
1. เป็นเส้นโค้งที่มีความเร็วคงตัว 
2. เป็นเส้นโค้งที่มีความเร่งคงตัวทั้งสองแกน
3. เป็นเส้นโค้งพาราโบลา 
4. มีความเร่งคงตัวในแนวระดับ
5. เป็นเส้นจำนวนรอบที่เคลื่อนที่ได้ใน 1 วินาที
7.   วัตถุที่กำลังเคลื่อนที่เป็นวงกลมด้วยอัตราเร็วสม่ำเสมอ มีความเร่งหรือไม่
     1. ไม่มี                             
     2. มี ทิศเข้าสู่ศูนย์กลาง
     3. มี ทิศออกจากศูนย์กลาง     
     4. มี ทิศสัมผัสกับเส้นรอบวง
     5. มี ทิศสัมผัสกับเส้นรอบวงและออกจากศูนย์กลาง
8.  การเคลื่อนที่ของวัตถุเป็นวงกลมด้วยอัตราเร็วสม่ำเสมอ ถ้ารัศมีของการเคลื่อนที่เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า โดยที่อัตราเร็วยังคงเท่าเดิม จะต้องใช้แรงเข้าสู่ศูนย์กลางเท่าใด
     1. เท่ากับครึ่งหนึ่งของค่าเดิม       
     2. เท่าเดิม
     3. เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า                 
     4. เพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า
     5. เพิ่มขึ้นเป็น 4 เท่า
9.  รถเลี้ยวโค้งได้เนื่องจากแรงใด
     1. แรงเสียดทานสถิตระหว่างยางกับถนนในแนวเดียวกับการเคลื่อนที่
     2. แรงเสียดทานจลน์ระหว่างยางกับถนนในแนวเดียวกับการเคลื่อนที่
     3. แรงเสียดทานสถิตระหว่างยางกับถนนในแนวด้านข้าง
     4. แรงเสียดทานจลน์ระหว่างยางกับถนนในแนวด้านข้าง
     5. แรงเสียดทานสถิตระหว่างยางกับถนนในแนวด้านหลัง
10.   การที่จะทำให้วัตถุเคลื่อนที่เป็นวงกลมได้นั้น สิ่งจำเป็นที่ต้องให้แก่วัตถุคืออะไร
1. แรงเสียดทาน          
2. แรงแม่เหล็ก
3. แรงโน้มถ่วง            
4. แรงเริ่มต้น
5. แรงที่ตั้งฉากกับทิศการเคลื่อนที่ของวัตถุตลอดเวลา


หน่วยการเรียนรู้ที่ 5
งานและพลังงาน
คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1.  ข้อใดไม่เกิดงาน ตามหลักวิชาฟิสิกส์
1.  ออกแรงดันกล่องให้ไถลไปตามพื้นห้อง
2.  ขับรถขึ้นเขาจนถึงจุดชมวิว
3.  แบกกระสอบข้าวสารเดินเข้าไปในห้องครัว
4.  ฉุดรถยนต์ขึ้นจากหล่มขึ้นมาบนพื้นราบ
5.  ถือขวดน้ำ 1.5 ลิตร ขึ้นบันได 15 ขั้น
2. ออกแรง 20 นิวตัน ผลักก้อนหินหนัก 100 นิวตัน ปรากฏว่าก้อนหินไม่เคลื่อนที่การออกแรงครั้งนี้เกิดงานเท่าใด 
1.  0 จูล                           2. 5 จูล
3.  50 จูล                         4.  200 จูล
5.  500 จูล
3.  พลังงานจลน์ของลูกปืนมวล 0.002 กิโลกรัม ขณะเคลื่อนที่ออกจากลำกล้องปืนยาว 1 เมตร ด้วยอัตราเร็ว 500 เมตรต่อวินาทีมีค่ากี่จูล
1.  50 จูล                         2.  100 จูล
3.  150 จูล                       4.  200 จูล
5.  250 จูล
4. วัตถุมวล 10 กิโลกรัม ถูกปล่อยจากตำแหน่งสูงจากพื้นดิน 15 เมตร ลงไปในบ่อซึ่งลึกลงไป 5 เมตร ขณะที่วัตถุกระทบก้นบ่อ วัตถุมีพลังงานจลน์เท่าใด
1.  500 จูล                       2.  1,000 จูล
3.  1,500 จูล                     4. 2,000 จูล
5.  2,500 จูล
5.  การเปลี่ยนแปลงของพลังงานศักย์เกี่ยวข้องกับสิ่งใดมากที่สุด
1.  ความเร็วในการเคลื่อนที่ของวัตถุ
2.  เวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของวัตถุ
3.  ความเร่งในแนวตรงของวัตถุ
4.  อุณหภูมิของวัตถุ
5.  ตำแหน่งของวัตถุ

6. ส้มโอลูกหนึ่งมวล 1.5 กิโลกรัม อยู่บนต้นสูง 2 เมตร จากพื้นจะมีพลังงานศักย์เท่าใด
1.  30 จูล            2. 35 จูล             3.  40 จูล
4.  45 จูล            5. 50 จูล
7.  เครื่องยนต์ไอพ่นสองเครื่องของเครื่องบินโดยสาร แต่ละเครื่องจะให้แรงขับเคลื่อนขนาด 179,040 นิวตัน จงหาว่าในขณะที่เครื่องบินกำลังบินที่อัตราเร็ว 250 เมตรต่อวินาที เครื่องยนต์แต่ละเครื่องจะให้กำลังกี่แรงม้า
1.  30,000 แรงม้า                  2.  40,000 แรงม้า
3.  50,000 แรงม้า                  4.  60,000 แรงม้า
5.  70,000 แรงม้า
8.  รถโดยสารจะต้องออกกำลังกี่วัตต์ในการขับเคลื่อนขึ้นไปส่งผู้โดยสารบนภูเขาซึ่งเอียงทำมุม 30 องศา กับพื้นราบ ด้วยอัตราเร็วคงที่ 20 เมตรต่อวินาที หากรถโดยสารคันนี้มีมวล 1,500 กิโลกรัม และไม่คิดแรงเสียดทาน
1. 100,000 วัตต์             2. 150,000 วัตต์
3. 200,000 วัตต์             4. 250,000 วัตต์
5. 300,000 วัตต์
9.  เครื่องกลชนิดหนึ่งมีประสิทธิภาพการใช้งาน 80 เปอร์เซ็นต์ ยกวัตถุหนัก 500 นิวตัน ขึ้นไปวางบนหลังคาบ้านสูง 5 เมตร หากนำเครื่องกลชนิดเดียวกันนี้ไปยกกล่องเหล็กหนัก 50 นิวตัน จะสามารถยกขึ้นได้สูงสุดกี่เมตร
1.  10 เมตร         2.  20 เมตร           3.  30 เมตร
4.  40 เมตร         5.  50 เมตร
10.  ข้อใดเป็นพลังงานทดแทนที่ใช้เชื้อเพลิงน้อยที่สุดแต่ให้พลังงานความร้อนออกมามากที่สุด
1.  พลังงานลม                     2.  พลังงานชีวมวล
3.  พลังงานนิวเคลียร์             4.  พลังงานแสงอาทิตย์
      5. พลังงานไฮโดรเจน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6
โมเมนตัมและการชน
คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1.  ข้อใดกล่าวถึงกำลังไม่ถูกต้อง
1. กำลังมีหน่วยเป็นจูลต่อวินาที    
2. กำลังแปรผันตรงกับงานที่ทำได้                
3. กำลังไม่มีความเกี่ยวข้องกับความเร็ว      
4. กำลัง คือ อัตราการทำงานในหนึ่งหน่วยเวลา
5. กำลังของเครื่องยนต์มักใช้หน่วยเป็นแรงม้า
2.  นักกีฬาเตะลูกฟุตบอลมวล 200 กรัม อัดกำแพงแล้วลูกฟุตบอลสะท้อนออกมาด้วยอัตราเร็ว 5 เมตรต่อวินาที ซึ่งเท่ากับอัตราเร็วเดิม ถ้าแรงที่กำแพงกระทำต่อลูกบอลเป็น 40 นิวตัน ลูกบอลกระทบกำแพงอยู่นานเท่าใด
1. 0.05 วินาที                     2. 0.15 วินาที 
3. 0.25 วินาที                     4. 0.35 วินาที 
5. 0.45 วินาที      
3.  ถ้าเราทราบแรงลัพธ์ที่กระทำต่อวัตถุแน่นอน และรู้เวลาที่แรงนั้นกระทำต่อวัตถุ จะสามารถนำไปคำนวณหาค่าในข้อใดได้
1. ความเร่งของวัตถุ
2. ความเร็วที่เปลี่ยนไปของวัตถุ
3. โมเมนตัมที่เปลี่ยนไปของวัตถุ
4. พลังงานจลน์ที่เปลี่ยนไปของวัตถุ
5. ระยะทางที่เปลี่ยนไปของวัตถุ
4.  ลูกบอลมวล 300 กรัม ตกลงมาจากที่สูง 20 เมตร แล้ว กระทบพื้นเป็นเวลานาน 0.005 วินาที จึงกระดอนกลับขึ้นไปสูง 10 เมตร จงหาการดล
1. 10 กิโลกรัมต่อวินาที         2. 20 กิโลกรัมต่อวินาที
3. 30 กิโลกรัมต่อวินาที         4. 40 กิโลกรัมต่อวินาที
5. 50 กิโลกรัมต่อวินาที        
5.  จากข้อ 4. จงหาแรงเฉลี่ยระหว่างลูกบอลกับพื้น
1. 1,000 นิวตัน                  2. 2,000 นิวตัน
3. 3,000 นิวตัน                  4. 4,000 นิวตัน
     5. 5,000 นิวตัน
6.  รถคันหนึ่งถูกเข็นด้วยแรง 120 นิวตัน วิ่งด้วยอัตราเร็วคงที่ 5 เมตรต่อวินาที จงหากำลังทั้งหมดที่ใช้ในการเข็นรถคันนี้
1. 500 วัตต์             2. 600 วัตต์           3. 700 วัตต์
4. 800 วัตต์             5. 900 วัตต์
7.  เครื่องยนต์ไอพ่นสองเครื่องของเครื่องบินโดยสาร แต่ละเครื่องจะให้แรงขับเคลื่อนขนาด 179,040 นิวตัน จงหาว่าในขณะที่เครื่องบินกำลังบินที่อัตราเร็ว 250 เมตรต่อวินาที เครื่องยนต์แต่ละเครื่องจะให้กำลังกี่แรงม้า
1. 30,000 แรงม้า                 2. 40,000 แรงม้า
3. 50,000 แรงม้า                 4. 60,000 แรงม้า
5. 70,000 แรงม้า
8.  รถโดยสารจะต้องออกกำลังกี่วัตต์ในการขับเคลื่อนขึ้นไปส่งผู้โดยสารบนภูเขาซึ่งเอียงทำมุม 30 องศา กับพื้นราบ ด้วยอัตราเร็วคงที่ 20 เมตรต่อวินาที หากรถโดยสารคันนี้มีมวล 1,500 กิโลกรัม และไม่คิดแรงเสียดทาน
1. 100,000 วัตต์                   2. 150,000 วัตต์
3. 200,000 วัตต์                   4. 250,000 วัตต์
5. 300,000 วัตต์
9.  นักกีฬาหนัก 750 นิวตัน ไต่เชือกด้วยความเร็วคงตัว สูง 5 เมตร ในเวลา 25 วินาที จงหากำลังที่นักกีฬาคนนี้ใช้ในการไต่เชือก
1. 90 วัตต์              2. 110 วัตต์       3. 130 วัตต์
4. 150 วัตต์             5. 170 วัตต์
10.  ลูกปืนมวล 4 กรัม มีความเร็ว 1000 เมตรต่อวินาที ยิงทะลุแผ่นไม้หนัก 800 กรัม ที่ห้อยแขวนไว้ด้วยเชือกยาว หลังจากทะลุแผ่นไม้ ลูกปืนมีความเร็ว 400 เมตรต่อวินาที จงหาว่าแท่งไม้จะแกว่งขึ้นสูงจากจุดหยุดนิ่งเท่าใด
1. 0.30 เมตร          2. 0.40 เมตร         3. 0.50 เมตร
      4. 0.60 เมตร         5. 0.70 เมตร

หน่วยการเรียนรู้ที่ 7
สภาพสมดุล
คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1.  วัตถุจะอยู่ในสภาพสมดุล ยกเว้นข้อใด
1.  วัตถุหยุดนิ่ง
2.  วัตถุหมุนด้วยความเร็วเชิงมุมคงตัว
3.  วัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัว
4.  วัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร่งคงตัว
5.  แรงลัพธ์ที่กระทำกับวัตถุเป็นศูนย์
2.  โมเมนต์ของแรงหมายถึงอะไร
1.  แรง
2.  จุดตรึงของคาน
3.  ระยะห่างระหว่างแรงกับจุดหมุน
4.  ผลบวกระหว่างน้ำหนักและแรงที่กระทำต่อวัตถุ
5.  ผลคูณระหว่างแรงกับระยะตั้งฉากจากแรงถึงจุดหมุน
3.  ทฤษฎีลามี (Lami’s Theorem) กล่าวว่า ถ้ามีแรง 3 แรง มากระทำร่วมกันอยู่ที่จุดหนึ่งบนวัตถุและวัตถุอยู่ในสภาพสมดุลได้ อัตราส่วนของแรงต่อค่าใด ของมุมตรงข้ามจะมีค่าเท่ากัน
1.  sin                  
2.  cos             
3.  tan       
4.  sec                 
5.  cot
4.  ข้อใดคือเกณฑ์ในการแบ่งประเภทของคานออกเป็นคานอันดับต่าง ๆ
1.  ขนาดของแรงพยายาม
2.  ขนาดของแรงต้านทาน
3.  ตำแหน่งของจุดหมุน
4.  ตำแหน่งของวัตถุที่วางบนคาน
5.  ความยาวของคาน
5.  แขวนมวล m ด้วยเชือกยาว L แล้วทำให้แกว่ง ขณะที่เชือกทำมุม  กับแนวดิ่ง ซึ่งวัตถุหยุดพอดี จงหาแรงดึงในเส้นเชือกขณะนั้น

6.  กล่องกว้าง 10 เซนติเมตร สูง 50 เซนติเมตร หนัก 80 นิวตัน มีศูนย์กลางมวลอยู่ที่ตำแหน่งกึ่งกลางของกล่อง ถูกวางอยู่บนพื้นที่ฝืดมาก จงหาว่าจะต้องออกแรง 20 นิวตัน ในแนวราบ ที่ความสูงจากพื้นเท่าใด กล่องจึงจะล้มพอดี
1.  10 เซนติเมตร              2.  20 เซนติเมตร
3.  30 เซนติเมตร              4.  40 เซนติเมตร
5.  50 เซนติเมตร
7.  คน 2 คน ชักคะเย่อกัน ต่างคนต่างออกแรง F เท่ากันดึงที่ปลายทั้งสองของเชือกเส้นหนึ่ง แรงดึงในเส้นเชือกเป็นเท่าใด
1.  0                  2.  F/2                   3.  F+2
4.  F                  5.  2F                   
8.  บันไดขนาดสม่ำเสมอมีน้ำหนัก W วางพาดกำแพงเกลี้ยงซึ่งไม่คิดแรงเสียดทาน ถ้าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานสถิตระหว่างพื้นล่างกับบันได เท่ากับ  จงหามุม  ที่น้อยที่สุดที่ทำให้บันไดวางนิ่งอยู่ได้

9.  คานสม่ำเสมอมวล 10 กิโลกรัม แขวนไว้กับเพดานที่จุดหมุนลื่น จงหาขนาดของแรง F ในแนวระดับที่ดันปลายคานด้านล่างให้คานเบนไปจากแนวเดิม 30 องศา

10.  ชายสองคนช่วยกันหามวัตถุมวล 90 นิวตัน ซึ่งแขวนอยู่ที่จุดกึ่งกลางคานสม่ำเสมอมวล 10 กิโลกรัม ถ้าชายคนที่หนึ่งแบกคานตรงตำแหน่งห่างจากจุดที่แขวนวัตถุ 0.5 เมตร และรับน้ำหนัก 600 นิวตัน ชายคนที่สองจะแบกคานที่ตำแหน่งห่างจากจุดแขวนวัตถุเท่าใด
1.  0.25 เมตร      2.  0.55 เมตร      3.  0.75 เมตร
      4.  0.85 เมตร       5. 0.95 เมตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น