ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
สิ่งมีชีวิตและการรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต
คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. นักวิทยาศาสตร์ที่มองเห็นเซลล์โดยมองผ่านกล้องจุลทรรศน์ชนิดเลนส์ประกอบเป็นคนแรก คือใคร
      ก. อันตน ฟัน เลเวนฮุก               
      ข. รอเบิร์ต ฮุก
      ค. เทโอดอร์ ชวันน์                    
      ง. มัตทิอัส  ยาคบ  ชไลเดน
2.   ออร์แกเนลล์ที่พบในเซลล์พืชแต่ไม่พบในเซลล์สัตว์ คือข้อใด
      ก. คลอโรพลาสต์                      
      ข. นิวเคลียส
      ค. ไรโบโซม                              
      ง. ไมโทคอนเดรีย
3.   โครงสร้างภายนอกของเซลล์พืชส่วนใดที่ทำให้เซลล์พืชคงรูปร่างและแข็งแรง
      ก. เยื่อหุ้มเซลล์                         
      ข.  ผนังเซลล์
      ค. ไคติน                                   
      ง.  เซลลูโลส
4.   เซลล์ที่ตายแล้ว จะไม่พบออร์แกเนลล์ใด
      ก. เยื่อหุ้มเซลล์                         ข.  ผนังเซลล์
      ค. นิวเคลียส                             ง. ไคติน
5.   การเคลื่อนที่ของสารจากบริเวณที่มีสารมากไปยังบริเวณที่มีสารน้อยกว่า โดยต้องอาศัยโปรตีนที่เยื่อหุ้มเซลล์เป็นตัวพา เป็นการควบคุมความสมดุลของเซลล์ข้อใด
      ก. การแพร่                               
      ข. การออสโมซิส
      ค. การลำเลียงแบบแอกทีฟทรานสปอร์ต            
      ง. การลำเลียงแบบฟาซิลิเทต
6.   เซลล์เม็ดเลือดแดงแช่ในน้ำเป็นเวลานาน จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไรกับเซลล์เม็ดเลือดแดง
      เพราะเหตุใด
      ก. เซลล์เม็ดเลือดแดงเต่งและแตกในที่สุด เพราะน้ำออสโมซิสเข้าสู่เซลล์เม็ดเลือดแดง                                                
      ข. เซลล์เม็ดเลือดแดงเต่งแต่ไม่แตก เพราะน้ำออสโมซิสเข้าสู่เซลล์เม็ดเลือดแดง
      ค. เซลล์เม็ดเลือดแดงแฟบ เพราะเกิดการแพร่ของสารในเซลล์เม็ดเลือดแดงออกสู่น้ำ                                                  
      ง. เซลล์เม็ดเลือดแดงแฟบและเหี่ยว เพราะเกิดการแพร่ของสารในเซลล์เม็ดเลือดแดงออกสู่น้ำใน                                               ปริมาณมากจนทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงเหี่ยว
7. ส่วนใดของพืชที่ควบคุมสมดุลของน้ำ
      ก. ราก                                          ข. ใบ
      ค. ลำต้น                                       ง.  ทุกส่วนของพืช 
8.   การกำจัดของเสียในพืชด้วยวิธีการสะสมไว้ในออร์แกเนลล์ใดของพืช
      ก. ไมโทคอนเดรีย                          ข. คลอโรพลาสต์
      ค. ไรโบโซม                                  ง. แวคิวโอล

9.   การเปลี่ยนแปลงความเป็นกรด – เบสของของเหลวภายในเซลล์ของสัตว์ เนื่องจากปริมาณของสารในข้อใด              
      ก. แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
      ข. ไฮโดรเจนคาร์บอเนตไอออน
      ค.ไฮโดรเจนไอออน
      ง. น้ำ
10. ปลาน้ำจืดรักษาสมดุลของน้ำและแร่ธาตุภายในร่างกายอย่างไร
      ก. ไตขับปัสสาวะที่เข้มข้นสูง                               
      ข. เกล็ดป้องกันการออสโมซิสของน้ำ
      ค. น้ำและแร่ธาตุผ่านเข้าทางผิวหนัง
      ง. น้ำและแร่ธาตุผ่านเข้าทางเหงือกโดยการดูดของเซลล์พิเศษ
11. สัตว์ในข้อใดที่มีการรักษาดุลยภาพของอุณหภูมิในร่างกายโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยการหนีหนาวและหนีร้อน
      ก. หมีขั้วโลก, วัว                        ข.  หมีขั้วโลก, กบ
      ค.      วัว, กบ                               ง. หนู, ช้าง
12. มนุษย์มีการรักษาดุลยภาพของน้ำและแร่ธาตุในร่างกายด้วยวิธีการอะไร
      ก. การขับกากอาหารและน้ำทางไต                      
      ข. การขับเกลือแร่ออกทางต่อมเหงื่อที่ผิวหนัง
      ค. การขับของเสียทางไตและทางต่อมเหงื่อที่ผิวหนัง  
      ง. การขับของเสียทางทวารหนัก และทางต่อมเหงื่อที่ผิวหนัง
13. อากาศร้อน มีผลต่อการรักษาดุลยภาพของอุณหภูมิในร่างกายคนอย่างไร
      ก. ความร้อนจะทำให้เส้นเลือดใต้ผิวหนังขยายตัวจนชิดต่อมเหงื่อ
      ข. ความร้อนจะทำให้เส้นเลือดใต้ผิวหนังหดตัวจนชิดกับผิวหนัง
      ค. ความร้อนจะทำให้ท่อหน่วยไตดูดน้ำกลับเข้าสู่ร่างกาย        
      ง. ความร้อนจะทำให้กระเพาะอาหารดูดน้ำกลับเข้าสู่ร่างกาย
14. อวัยวะใดทำหน้าที่ป้องกันเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย
      ก. ผิวหนัง เซลล์เม็ดเลือดแดง
      ข. ผิวหนัง เซลล์เม็ดเลือดขาว
      ค. เซลล์เม็ดเลือดแดง เกล็ดเลือด
      ง. เซลล์เม็ดเลือดขาว เซลล์เม็ดเลือดแดง
15. โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง ติดต่อได้ทางใดบ้าง
      1) เพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อไวรัส HIV
      2) ทางเลือด เช่น การใช้เข็มฉีดยาที่ปนเปื้อนเชื้อ HIV
      3) การติดเชื้อจากมารดาระหว่างคลอด
      4) การรับบริจาคเลือดจากผู้ที่มีเชื้อแบคทีเรีย
      ก. ข้อ 1) และ 2)                   ข.  ข้อ 2) และ 3)
      ค. ข้อ 1), 2) และ 3)              ง. ข้อ 1), 2), 3) และ 4)




หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมและวิวัฒนาการ
คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. ข้อใดหมายถึงลักษณะทางพันธุกรรม
      ก. ลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่ควบคุมโดยยีน
      ข. ลักษณะซึ่งถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปยังรุ่นต่อไป
      ค. ลักษณะสืบเนื่องกันไปโดยอาศัยเซลล์สืบพันธุ์เป็นสื่อกลาง
      ง. ถูกทุกข้อ
2. ลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่เป็นการแสดงออกของยีน  คือข้อใด
      ก.      จีโนไทป์                ข. ฟีโนไทป์                              
      ค.      อัลลีล                     ง. เซลล์สืบพันธุ์                           
3. โครโมโซมร่างกายที่มีรูปร่างลักษณะเหมือนกันทุกประการ คือข้อใด
      ก. เฮเทอโรไซกัสโครโมโซม                               
    ข. เฮเทอโรโลกัสโครโมโซม
      ค. โฮโมโซกัสโครโมโซม                                    
    ง. โฮโมโลกัสโครโมโซม
4. ข้อใดเป็นการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส
      ก. แบ่งเซลล์ร่างกาย                                               
    ข. แบ่งเซลล์จาก 1 เซลล์ เป็น 2 เซลล์ใหม่
      ค. จำนวนโครโมโซมของเซลล์ใหม่เท่าเดิม คือ 2 ขา   
     ง. ลักษณะสารพันธุกรรมและโครโมโซมในเซลล์ใหม่อาจเปลี่ยนแปลงได้
5. สิ่งมีชีวิตใดสืบพันธุ์ โดยการแตกหน่อ
      ก. อะมีบา  ยีสต์         ข. ยูกลีนา  ไฮดรา
      ค. ไฮดรา  ยีสต์          ง. แบคทีเรีย  ไฮดรา
6. วงชีวิตแบบสลับของพืช ตรงกับข้อใด
      ก.  การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ                           
      ข.   การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ
      ค.  การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศสลับกับแบบอาศัยเพศ   
      ง.   การสืบพันธุ์แบบแตกหน่อสลับกับการสร้างสปอร์
7. นิวคลีโอไทด์ประกอบด้วยหน่วยย่อย อะไรบ้าง
      ก.  น้ำตาลเพนโทส  ไนโตรเจนเบส  และหมู่ฟอสเฟต           
     ข.  น้ำตาลไรโบส  ไนโตรจีนัสเบส  และหมู่ฟอสเฟต
     ค.  น้ำตาลเพนโทส  ไนโตรจีนัสเบส  และหมู่ฟอสเฟต    
     ง.  น้ำตาลไรโบส  ไนโตรเจนเบส  และหมู่ฟอสเฟต

8. บิดาแห่งพันธุศาสตร์ คือใคร
      ก. โยฮันน์  ฟรีดริช  มีเชอร์                                   
      ข. เกรเกอร์  โยฮันน์  เมนเดล
      ค. ชาลส์  คาร์วิน                                                     
      ง. ทอมัส  มัลทัส
9. ลักษณะทางพันธุกรรมใดที่มียีนควบคุมลักษณะเป็นมัลติเปิลอัลลีล
      ก. การมีลักยิ้ม                 ข. หมู่เลือด A B O
      ค. ฝักอวบ กับฝักแฟบ     ง. ดอกของต้นสแนปดรากอน
10. ถ้าพ่อมีหมู่เลือด A และแม่มีหมู่เลือด B ลูกที่เกิดมีโอกาสเป็นหมู่เลือดใด
      ก. หมู่เลือด A              
     ข. หมู่เลือด A, B
      ค. หมู่เลือด A, B, AB   
      ง. หมู่เลือด A, B, AB และ O
11. โรคทางพันธุกรรมใดที่เกิดจากการมีโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง
      ก. กลุ่มอาการดาวน์                                                
      ข. ฮีโมฟีเลีย
      ค. ธาลัสซิเมีย                                                          
      ง. กลุ่มอาการเทอร์เนอร์ซินโดรม
12. ลักษณะใดเป็นการแปรผันแบบต่อเนื่อง
      ก. การมีลักยิ้ม         ข. การห่อลิ้นได้
      ค. ความสูง              ง. หมู่เลือด
13. สารใดเป็นสารก่อมะเร็ง
      ก. เมลานิน               ข. มิวทาเจน
      ค. แอนโดรเจน         ง. อีสโตรเจน
14. ลักษณะความผิดปกติชนิดใดที่อยู่บนโครโมโซมเพศหญิง หรือโครโมโซม x
      ก. ตาบอดสี                      ข. ขนยาวที่ใบหู
      ค. นิ้วเท้ามีพังพืด             ง. นิ้วมือเกิน                 
15. เซลล์ในข้อใด มีโครโมโซมเพียงชุดเดียว
      ก.  เซลล์อสุจิ               ข. เซลล์สมอง                 
      ค.  เซลล์ผิวหนัง           ง. เซลล์โครงกระดูก
     


หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1.   ความหลากหลายทางชีวภาพ หมายถึงอะไร
      ก.   ความหลากหลายของพืช – สัตว์ ที่อาศัยในระบบนิเวศ
      ข.   ความหลากหลายของจุลินทรีย์ – พืช – สัตว์ ในระบบนิเวศ
      ค.   ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตในระบบนิเวศ
      ง.   ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่อยู่ในระบบนิเวศ
2.   อริสโตเติล แบ่งพืชเป็นอะไรบ้าง
      ก.   พืชยืนต้น  พืชล้มลุก  พืชไม้เลื้อย               
    ข.     พืชยืนต้น  พืชล้มลุก  พืชไม้พุ่ม                              
      ค.   พืชยืนต้น  พืชไม้เลื้อย  พืชไม้พุ่ม               
    ง.      พืชยืนต้น  พืชเถาวัลย์  พืชไม้พุ่ม
3.   ประเภทของความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต คือข้อใด
      1)   ความหลากหลายทางพันธุกรรม
      2)   ความหลากหลายของชนิด
      3)   ความหลากหลายของระบบนิเวศ
      ก.   ข้อ 1)                     
    ข. ข้อ 1) และ 2)
      ค.   ข้อ 1) และ 3)          
    ง. ข้อ 1)  2)  และ 3)
4.   ชาล์ส ดาวิน ได้เขียนหนังสือเล่มสำคัญ คือเล่มใด
      ก.   อาณาจักรสิ่งมีชีวิต                                        
    ข. ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต
      ค.   การเกิดสปีชีส์                                                
     ง.     การคัดเลือกพันทางธรรมชาติ
5.   ข้อใดจัดเป็น Homologous structure
      ก.   แขนคน  ครีบปลาวาฬ
      ข.   แขนคน  ปีกนก
      ค.   ครีบปลาวาฬ  ปีกนก
      ง.   ปีกแมลง  ขาหน้าของจระเข้
6.   อนุกรมวิธาน เป็นการศึกษาความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในด้านใดบ้าง
      1)   การจำแนกสิ่งมีชีวิต
      2)   การตรวจสอบหาหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต
      3)   การตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิต
      4)   การศึกษาแหล่งที่อยู่ของสิ่งมีชีวิต
      ก.   ข้อ 1) และ 2)                                                 
     ข.    ข้อ 1)  2)  และ 3)
      ค.   ข้อ 2)  3)  และ 4)
      ง.   ข้อ 1)  2)  3)  และ 4)



7.   ข้อใดจัดเรียงลำดับการจัดหมวดหมู่ได้ถูกต้อง
      ก.   ไฟลัม  คลาส  ออร์เดอร์  แฟมิลี  จีนัส  สปีชีส์     
    ข.     ไฟลัม  คลาส  ออร์เดอร์  จีนัส  แฟมิลี  สปีชีส์
      ค.   ไฟลัม  ออร์เดอร์  คลาส  จีนัส  แฟมิลี    สปีชีส์   
    ง.      ไฟลัม  ออร์เดอร์  คลาส  แฟมิลี  จีนัส  สปีชีส์
8.   Rosa alba  คำว่า  alba หมายถึงอะไร
      ก.   สีแดง
      ข.   สีขาว
      ค.   สีชมพู
      ง.   สีม่วง
9.   วิตตาเกอร์ จำแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็นกี่อาณาจักร
      ก.   2 อาณาจักร
     ข.    3 อาณาจักร
      ค.   4 อาณาจักร                        
      ง.    5 อาณาจักร  
10.    อาณาจักรมอเนอรา ประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตใด
         ก.   แบคทีเรีย สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน
         ข.   แบคทีเรีย อะมีบา
         ค.   สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน ไดอะตอม
         ง.   สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน ฟอร์ไฟรา
11.    อาณาจักรใดมีเซลล์เป็นแบบ Prokaryotic  cell
         ก.   ฟังไจ                                                              
         ข.   โพรทิสตา
         ค.   มอเนอรา                                                        
         ง.   พืชและสัตว์
12.    อาณาจักรโพรทิสตา มีสิ่งมีชีวิตชนิดใด
         ก.   อะมีบา  พารามีเซียม  ราเมือก
         ข.   อะมีบา  ยิสต์  ราเมือก
         ค.   พารามีเซียม  ยีสต์  ราขนมปัง
         ง.   พารามีเซียม  เห็ด  ราขนมปัง
13.    จีฉ่าย หรือพอร์ไฟรา จัดอยู่ในไฟลัมใด
         ก.   ไฟลัมคริโซไฟตา                                         
      ข.      ไฟลัมฟีโอไฟตา
         ค.   ไฟลัมโรโดไฟตา                                          
      ง.       ไฟลัมมิกโซไมโคไฟตา
14.    อาณาจักรฟังไจ มีสิ่งมีชีวิตชนิดใด
         ก.   ราขนมปัง  ราเมือก  ราสีเขียว  
         ข.   ยีสต์  ราขนมปัง  ราเมือก
         ค.   ยีสต์  ราสีเขียว  ราเมือก        
         ง.   เห็ด  ยีสต์  ราขนมปัง
15.    ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของเชื้อรา
         ก.   ผลิตยาปฏิชีวนะ          ข. ผลิตแอลกอฮอล์
         ค.   ผลิตวุ้น                     ง. ผลิตเต้าเจี้ยว


หน่วยการเรียนรู้ที่ 4
อาณาจักรพืชและอาณาจักรสัตว์
คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. พืชดิวิชันใดที่ไม่มีราก ไม่มีลำต้น และไม่มีใบแท้จริง
      ก. ไบรโอไฟตา               
     ข. ไซโลไฟตา
      ค. ไลโคไฟตา                
    ง. สฟีโนไฟตา
2. พืชพวกแรกที่เริ่มมีท่อลำเลียง คือข้อใด
      ก. ไบรโอไฟตา               
     ข. ไซโลไฟตา
      ค. ไลโคไฟตา                   
     ง. สฟีโนไฟตา
3. ดิวิชันเทอโรไฟตา มีลักษณะเด่นอย่างไร
      ก. การแตกกิ่งก้านเป็นแบบคู่                       
     ข. ใบเรียงตัวแบบวงเป็นเกลียวบนลำต้น
      ค. ใบอ่อนม้วนงอคล้ายลานนาฬิกา             
     ง. ลำต้นจะกลวง หากจับจะรู้สึกสากมือ
4. พืชในดิวิชันใด รวมเรียกว่า จิมโนสเปิร์ม
      1)  เทอโรไฟตา
      2)  โคนิเฟอโรไฟตา
      3)  ไซแคโดไฟตา
      4)  แอนโทไฟตา
      ก. ข้อ 1) และ 2)    
      ข. ข้อ 2) และ 3)                                              
      ค. ข้อ 3) และ 4)    
      ง. ข้อ 1) และ 4)
 5.       ลักษณะเด่นของไฟลัมพอริเฟอรา คือข้อใด
      ก. มีเนื้อเยื่อ                                                       
      ข. มีช่องปาก และมีเทนตาเคิล
      ค. มีระบบทางเดินอาหารสมบูรณ์                
      ง. มีโครงร่างค้ำจุน Spicule
6. สิ่งมีชีวิตใดที่มีรูปทรง 2 แบบ คือ แบบกระบอกกับแบบทรงกระดิ่งคว่ำ
    ก.  ไฮดรา                    
    ข. แมงกระพรุน
    ค. ปะการัง                 
    ง. กัลปังหา
7. สัตว์ในไฟลัมใด มีพัฒนาการเป็นพวกแรกที่มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น
      ก. ไฟลัมพอริเฟอรา         
     ข. ไฟลัมซีเลนเทอราตา
      ค. ไฟลัมแพลทีเฮลมินเทส  
      ง. ไฟลัมเนมาโทดา

8.   สัตว์พวกแรกที่มีทางเดินอาหารแบบสมบูรณ์ คือข้อใด
      ก.  ไฟลัมพอริเฟอรา  
      ข. ไฟลัมซีเลนเทอราตา
      ค. ไฟลัมแพลทีเฮลมินเทส    
      ง. ไฟลัมเนมาโทดา
9. หนอนตัวกลมที่ดำรงชีวิตอย่างอิสระ คือชนิดใด
      ก. ไส้เดือนฝอย           
     ข. พยาธิตัวจี๊ด
      ค. พยาธิเส้นด้าย       
      ง. หนอนในน้ำส้มสายชู
10.   สัตว์ไฟลัมใดเป็นพวกแรกที่มีระบบหมุนเวียนเลือดแบบปิด
      ก. ไฟลัมแอเนลิดา         
      ข. ไฟลัมอาร์โทรโพดา                                   
      ค. ไฟลัมเอไคโนเดอร์มาตา 
      ง. ไฟลัมคอร์ดาตา
11.   สัตว์ในไฟลัมใดมีปริมาณมากที่สุด
         ก. ไฟลัมแอเนลิดา                                           
        ข.  ไฟลัมอาร์โทรโพดา
         ค. ไฟลัมเอไคโนเดอร์มาตา
         ง. ไฟลัมคอร์ดาตา                                         
12.   สัตว์ชนิดใด เมื่อโตเต็มวัย Notochord และเส้นประสาทบริเวณหางจะค่อยๆ หายไป
         ก. เพรียงหัวหอม    
         ข. แอมฟิออกซัส
         ค. ปลาปากกลม    
         ง. ปลาฉลาม
13.   คลาสใดที่เป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก
         ก.  ไซโคลสโตมาตา
         ข. คอนดริคไทอิส
         ค. ออสติอิคไทอิส
         ง. แอมฟิเบียน
14.   ตุ่นปากเป็ด จัดเป็นสัตว์คลาสใด
         ก. แมมมาเลีย
         ข. เอวีส
         ค. เรปทิเลีย
         ง. แอมฟิเบียน
15.   สิ่งมีชีวิตใดที่โครงสร้างประกอบด้วย DNA หรือ RNA มีโปรตีนห่อหุ้มไว้
         ก. แอมฟิออกซัส 
         ข. เพรียงสาย
         ค. ไวรัส            
        ง. ไวรอยด์
        


หน่วยการเรียนรู้ที่ 5
เทคโนโลยีชีวภาพ
คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. ข้อใดเป็นความหมายของเทคโนโลยีชีวภาพ
      ก.     การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์
      ข.     การนำความรู้สาขาฟิสิกส์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์
      ค.     การนำความรู้สาขาเคมีมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์
      ง.     การนำความรู้สาขาพันธุศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์
2. เทคโนโลยีชีวภาพที่เกี่ยวข้องกับสาขาจุลชีววิทยา  คือข้อใด
      ก.     การผลิตยาเพนนิซิลิน  
      ข.     การควบคุมศัตรูพืชด้วยชีววิธี
      ค.     การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
      ง.     การผสมเทียม
3. การทำเด็กหลอดแก้วเป็นเทคโนโลยีชีวภาพที่เกี่ยวข้องกับความรู้สาขาใด
      ก.     กีฏวิทยา
      ข.     สัตววิทยา
      ค.     พฤกษศาสตร์
      ง.     พันธุกรรมระดับโมเลกุล
4. ข้อใดเกี่ยวข้องกับพันธุวิศวกรรม
     1)  การตัดต่อยีนด้วยกระบวนการที่นอกเหนือไปจากการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ
     2)  ความรู้จากการศึกษาชีววิทยาโมเลกุลจนนำมาประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตได้
     3)  การนำยีนจากสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งไปใส่ให้กับสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง
      ก.     ข้อ 1, 2
     ข.      ข้อ 2, 3
      ค.     ข้อ 1, 3
      ง.     ข้อ 1, 2 และ 3
5. สิ่งมีชีวิตใดที่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินด้วยวิธีการตัดแต่งพันธุกรรม
      ก.     ม้า
      ข.     ลิงรีซัส
      ค.     แบคทีเรีย
      ง.     โปรโตซัว
6. สิ่งมีชีวิตใดที่เป็นพาหะนำพายีนที่มีสมบัติทำให้เกิดสารเรืองแสงของแมงกะพรุนถ่ายโอนไปยังสิ่งมีชีวิตอื่น
      ก.     รา                                                                   
    ข.      ไวรัส
      ค.     แบคทีเรีย                                                      
    ง.      โปรโตซัว
7. เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมมีผลต่อมนุษย์  ยกเว้นข้อใด
     1)  การเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร
     2)  การแพทย์  เช่น  คุณภาพของการผลิตฮอร์โมนและวัคซีนต่างๆ เพื่อใช้ในการรักษาและป้องกันโรค
     3)  การสงคราม  มีการผลิตจุลินทรีย์ที่เป็นอันตรายใช้เป็นอาวุธสงคราม
      ก.     ข้อ 1, 2
      ข.     ข้อ 2, 3
      ค.     ข้อ 1, 3
      ง.     ข้อ 1, 2 และ 3

8. ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ  มีประโยชน์อย่างไร
     1)  ใช้พิสูจน์ความสัมพันธ์ทางสายเลือด
     2)  ใช้ในการพิสูจน์หลักฐานทางนิติเวชศาสตร์
     3)  ใช้ในทางการแพทย์  ใช้ในการตรวจติดตามการปลูกถ่ายไขกระดูก
     4)  การตรวจเอกลักษณ์ทางพันธุกรรมของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์
      ก.     ข้อ 1, 2, 3                                                     
       ข.      ข้อ 2, 3, 4
      ค.     ข้อ 1, 3, 4
      ง.     ข้อ 1, 2, 3 และ 4
9. ข้อใดไม่ถูกต้องตามความหมายของโคลนนิ่ง
      ก.     การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
      ข.     การถ่ายโอนนิวเคลียสของเซลล์ร่างกาย
      ค.     การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศได้สิ่งมีชีวิตใหม่ที่ดีขึ้น
      ง.     สิ่งมีชีวิตใหม่  มีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนต้นแบบ
10.   กลุ่มเซลล์ที่เกิดจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ  เรียกว่าอะไร
      ก.     สตอบิลัส
      ข.     แคลลัส
      ค.     ซอลัส
      ง.     โฟตัส
11.   การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ  นิยมใช้ฮอร์โมนใดเพื่อชักนำการเกิดลำต้น
         ก.     ไซโตไคนิน
        ข.     ออกซีโตซิน
         ค.     เปลาโนทอล
        ง.     ออกซิน                                                         
12.   ประเทศไทยนำเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ประโยชน์ทางด้านใดมาก
         ก.     การแพทย์
        ข.     การเกษตร
         ค.     การคมนาคม
        ง.     สิ่งแวดล้อม
13.   การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในเมืองไทย  นิยมทำกับพืชชนิดใด
        1)  กล้วยไม้   ไผ่
        2)  ไม้ดอกไม้ประดับ  กล้วย
        3)  หญ้าแฝก   ข้าว
        4)  อ้อย   ยางพารา
         ก.     ข้อ 1, 2
        ข.     ข้อ 2, 3
         ค.     ข้อ 3, 4
        ง.     ข้อ 1, 4
14.   เทคโนโลยีการควบคุมโรคและแมลงโดยชีวอินทรีย์ในไทย คือข้อใด
      ก.     การใช้เชื้อแบคทีเรียควบคุมโรครากเน่าของทุเรียน
      ข.     การใช้สารสกัดจากแบคทีเรียในการควบคุมและกำจัดแมลง
      ค.     การใช้เชื้อรา  ควบคุมและกำจัดแมลง
      ง.     การใช้สารสกัดจากไวรัสในการควบคุมรากเน่าของไม้ผล
15.   เทคโนโลยีการตัดแต่งยีนช่วยปรับปรุงผลิตพืชเศรษฐกิจของไทย  เพื่อให้ได้พันธุ์พืชที่มี
       ลักษณะเฉพาะอย่างไร
      ก.     การพัฒนาพันธุ์พืชทนแล้ง  ไม่ทนสภาพดินเค็ม
      ข.     การพัฒนาพันธุ์ต้านทานแมลง  ไม่ต้านทานโรค
      ค.     การพัฒนาพันธุ์ผลไม้ให้สุกงอมช้า  ต้านทานโรค
      ง.     การพัฒนาพันธุ์ต้านทานโรค  ไม่ต้านทานแมลง


หน่วยการเรียนรู้ที่ 6
สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ร่วมกันในบริเวณต่างๆ ในพื้นที่ 1 ตารางเมตร กลุ่มสิ่งมีชีวิตชนิดใดมีจำนวนสมาชิก
    อยู่ร่วมกันได้มากที่สุด
      ก.      ต้นหญ้า              ข.        ต้นข้าว
      ค.      มด                      ง.         ปลา
2. ข้อความใดจัดเป็นกลุ่มสิ่งมีชีวิต
      ก.      ปลาทับทิมในกระชังมี 200 ตัว                                           
      ข.      วันที่ 10 มีนาคม 2553 ในกระชังมีปลาทับทิม 200 ตัว ปลานิล 100 ตัว
      ค.      ในกระชังมีปลาทับทิม 200 ตัว อยู่ร่วมกับปลานิล 100 ตัว                                                                                                    ง.       ปลาทับทิมในกระชัง 200 ตัว มีน้ำหนักรวม 100 กิโลกรัม
3. สิ่งมีชีวิตกลุ่มใดอาศัยอยู่ในหลายระดับของแหล่งน้ำ
      ก.      ปลา                              ข.     ปู
      ค.      หอย                             ง.      ปะการัง
4. ข้อใดจัดเป็นระบบนิเวศเปิด
      ก.      บ่อเลี้ยงปลา                ข.      บ่อเลี้ยงกุ้ง
      ค.      กระชังเลี้ยงปลา          ง.      ปลาในบึง
5. ชีวาลัย หมายถึง ระบบนิเวศใด
      ก.      ระบบนิเวศน้ำเค็ม                                         
      ข.      ระบบนิเวศของโลก
      ค.      ระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้น                        
      ง.      ระบบนิเวศธรรมชาติ
6. สารต่างๆ ที่ประกอบอยู่ในระบบนิเวศซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตโดยตรง มีอะไรบ้าง
      ก.      อุณหภูมิ ความชื้น แสงแดด                          
      ข.      ฟอสฟอรัส ซัลเฟอร์ แคลเซียม
      ค.      โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต                    
      ง.       น้ำ ดิน อากาศ
ใช้ข้อความต่อไปนี้ ตอบคำถาม ข้อ 7-8
      สระน้ำ เป็นที่อยู่อาศัยของปลา ปู หอย พืชน้ำ และบัวกำลังผลิดอกสวยงาม มีผีเสื้อและผึ้งจำนวนมาก
      นกกระเต็นกินปลา เกาะกินที่กิ่งไม้ริมสระ
7. ผู้ผลิตของสระน้ำนี้มีอะไรบ้าง
      ก.      ดอกไม้เป็นอาหารของผึ้งและผีเสื้อ             
      ข.      ปลาเป็นอาหารของนกกระเต็น
      ค.      ปลา ปู หอย เป็นอาหารของมนุษย์              
      ง.      พืชน้ำและบัวเป็นแหล่งอาหารของสระน้ำ
8. ผู้บริโภคหลักของสระน้ำนี้ได้แก่อะไรบ้าง
      ก.      นกกระเต็น               ข.      ผีเสื้อและผึ้ง
      ค.      ปลา ปู หอย               ง.      พืชน้ำ และบัว

 ใช้ข้อมูลด้านล่าง ตอบคำถาม ข้อ 9



     
  การถ่ายทอดพลังงานเป็นกิโลแคลอรีต่อตารางเมตรของ
 ๑ ต้นหญ้า   ๒ ตั๊กแตน   ๓ กบ   ๔ งู
9ข้อใดแสดงพีระมิดพลังงานได้ถูกต้อง


10. การหมุนเวียนของสารใดในระบบนิเวศไม่ต้องผ่านสิ่งมีชีวิต
      ก.      น้ำ                    
      ข. ไนโตรเจน
      ค.      คาร์บอน             
      ง. ฟอสฟอรัส และคาร์บอน
11. สิ่งมีชีวิตชนิดใด เป็นผู้บุกเบิกในการเปลี่ยนแปลงแทนที่ขั้นปฐมภูมิ
      ก.      โพลิไอสไลเคนส์     
      ข. ครัสโตรไลเคนส์
      ค.      มอส                   
      ง. พืชล้มลุก
12. ความสัมพันธ์ระหว่างผึ้งกับดอกไม้เป็นความสัมพันธ์แบบใด
      ก.      ภาวะอิงอาศัย
      ข.      ภาวะพึ่งพากัน
      ค.      ภาวะได้รับประโยชน์ร่วมกัน
      ง.      ภาวะปรสิต
13. นักเรียนเดินป่า ศึกษาระบบนิเวศ พบกล้วยไม้บนต้นไม้ใหญ่ ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตคู่ใด แตกต่าง
      จากกล้วยไม้บนต้นไม้ใหญ่
      ก.      ผึ้งทำรังบนต้นไม้                                          
      ข.      เพรียงกับปลาวาฬ
      ค.      แบคทีเรียบนผิวหนังคน                               
      ง.      นกเอี้ยงบนหลังควาย
14. การเปลี่ยนแปลงแทนที่จากเหตุการณ์ใดใช้เวลาน้อยที่สุด
      ก.      การตื้นเขินของทะเลสาบสงขลา
      ข.      การตื้นเขินของบึงบรเพ็ด
      ค.      ไฟไหม้ป่า
      ง.      ป่าชายเลนที่ถูกบุกรุกทำนากุ้ง
15. การศึกษาระบบนิเวศในแหล่งใดจะต้องปฏิบัติตามข้อใดทุกครั้ง
      ก.      บันทึกข้อมูลจำนวนสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศที่ศึกษา
      ข.      เมื่อนำสิ่งมีชีวิตขึ้นมาศึกษาเสร็จแล้วให้นำกลับคืนสู่สิ่งแวดล้อมเดิม
      ค.      เมื่อนำสิ่งมีชีวิตขึ้นมาศึกษาเสร็จแล้วต้องนำไปเลี้ยงเพื่อขยายพันธุ์ในสิ่งแวดล้อมใหม่
      ง.      เมื่อขุดค้นขึ้นมาศึกษาแล้วไม่ต้องนำกลับที่เดิมเพื่อจะได้รู้ว่าเป็นบริเวณที่ศึกษาแล้ว


หน่วยการเรียนรู้ที่ 7
สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. ทรัพยากรธรรมชาติมีความหมายว่าอย่างไร
      ก. สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
      ข. สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ซึ่งมนุษย์สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการดำรงชีวิต
      ค. ทรัพยากรที่มีใช้ไม่หมดหรือมีใช้ตลอดไป
      ง. ทรัพยากรที่เกิดใหม่ทดแทน และใช้แล้วหมดไป
2. บุคคลใดต่อไปนี้ที่สร้างทรัพยากรธรรมชาติ
      ก. สมชาย ปลูกต้นสักทอง 200 ต้น ในที่ดินของตนเอง
      ข. สมศรี ปลูกต้นโกงกางบริเวณป่าชายเลน 200 ต้น
      ค. สมศักดิ์ ปลูกต้นกฤษณา 200 ต้น เพื่อกลั่นน้ำหอมขาย
      ง. สมบุญ ปลูกต้นยาง 200 ต้น บนสันดอนปลายนา
3. พฤติกรรมข้อใดที่ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติเกิดใหม่ทดแทนที่ถูกวิธี
      ก. ชาวไร่อ้อย ปลูกอ้อยบริเวณเดิมทุกปี    
      ข. ชาวนาปลูกข้าวในนาแปลงเดิม ปีละ 2 ครั้ง
      ค. ผู้รับสัมปทานปลูกต้นไม้ชนิดเดิมทดแทนต้นไม้ที่ตัดไป    ง. ผู้รับสัมปทานปลูกต้นยางทดแทนต้นไม้ที่ตัดไป         
4. พืชชนิดใดให้ปัจจัยพื้นฐานด้านยารักษาโรค
      ก. กล้วยไม้     
      ข. ฟ้าทลายโจร                                                 
      ค. เฟื่องฟ้า    
      ง. อ้อย
5. หยาดน้ำฟ้า หมายถึงอะไร
      ก. การทำฝนเทียม                                            
      ข. น้ำในบรรยากาศ
      ค. น้ำผิวดิน                                                       
      ง. น้ำใต้ดิน
6. น้ำจากแหล่งน้ำประเภทใดมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตประจำวันมากที่สุด
      ก.  น้ำในอากาศ
      ข. น้ำผิวดิน
      ค.  น้ำใต้ดิน
      ง. น้ำบาดาล
7. น้ำธรรมชาติที่นำมาอุปโภคและบริโภคมีค่าดีโอ (DO) เท่าไร
      ก. DO 1-2 
      ข. DO 2-3
      ค. DO 3-4
      ง. DO 5-7

8.   สารประกอบไนโตรเจนและฟอสฟอรัสมากับน้ำทิ้งจากแหล่งใดมากที่สุด
      ก.  การผลิตกระแสไฟฟ้า  
      ข. อุตสาหกรรมผลิตรถยนต์
      ค. การซักล้างของครัวเรือนในชุมชน   
      ง. การทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำ
9. แพะเมืองผีของจังหวัดแพร่ เป็นการใช้ประโยชน์ทางด้านใดของทรัพยากรดิน
      ก. การเลี้ยงสัตว์
      ข. การเกษตรกรรม
      ค. การอุตสาหกรรม
      ง. การท่องเที่ยว
10.   การปลูกพืชชนิดใดช่วยยึดหน้าดินได้มากที่สุด
      ก. หญ้าแฝก
      ข. หญ้าแพรก                                         
      ค. หญ้าคา
      ง. หญ้านวลน้อย                                         
11.   การกระทำในข้อใดทำลายจุลินทรีย์ในดินมากที่สุด
         ก. ไร่เลื่อนลอย
         ข. ตัดไม้ทำลายป่า
         ค. เผาพืชในไร่นาหลังการเก็บเกี่ยว
         ง. ไถพรวนดินหลังการเก็บเกี่ยว 
12.   องค์ประกอบของอากาศมีมากที่สุด คือข้อใด
         ก. คาร์บอนไดออกไซด์   
         ข. ไนโตรเจน
         ค. ออกซิเจน    
         ง. ไอน้ำ
13.   ในเวลากลางวันบริเวณใดต่อไปนี้จะมีก๊าซออกซิเจนมาก
         ก.  ห้างสรรพสินค้า
         ข. โรงเรียน
         ค. สวนสาธารณะ
         ง. โรงงานอุตสาหกรรม
14.   สัตว์ป่าคุ้มครองชนิดแรกของไทย ได้แก่สัตว์ใด
         ก. สมัน
         ข. พยูน
         ค. นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร
         ง. ช้าง
15.   แนวทางการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติแบบยั่งยืน วิธีใดเหมาะสมที่สุด
         ก. ออกกฎหมายควบคุม                                 
         ข. ส่งเสริมให้มีการศึกษาวิจัย
         ค. สร้างจิตสำนึกแก่ประชาชนและเยาวชน        
         ง. หาวิธีปรับปรุงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรม




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น