โลก ดาราศาสตร์และอวกาศ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
โครงสร้างโลก
ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1.  ข้อใดเป็นธาตุหลักที่เป็นองค์ประกอบของเปลือกโลกทวีป
     1. ซิลิคอน และทองแดง    
2. ซิลิคอน และอะลูมิเนียม     
3. ซิลิคอน และแมกนีเซียม   
4. ซิลิคอน ทองแดง และเหล็ก
5. ซิลิคอน ทองแดง และอลูมิเนียม  
2. ข้อใดเป็นธาตุหลักที่เป็นองค์ประกอบของเปลือกโลกมหาสมุทร
     1. ซิลิคอน และทองแดง    
2. ซิลิคอน และอะลูมิเนียม     
3. ซิลิคอน และแมกนีเซียม   
4. ซิลิคอน ทองแดง และเหล็ก
5. ซิลิคอน ทองแดง และอลูมิเนียม  
3.   ถ้าแบ่งโครงสร้างโลกตามข้อมูลจากการวัด
    คลื่นไหวสะเทือนจะแบ่งโครงสร้างโลกได้ตามข้อใด
1. เปลือกโลก เนื้อโลก และแก่นโลก
2. ฐานธรณีภาค มัชฌิมภาค และไตรภาค
    3. เปลือกโลก ฐานธรณีภาค ไตรภาค และแก่นโลก
4. ธรณีภาค ฐานธรณีภาค มัชฌิมภาค
   แก่นโลกชั้นนอก และแก่นโลกชั้นใน
5. เปลือกโลก เนื้อโลก ธรณีภาค ไตรภาค
   แก่นโลกชั้นนอก และแก่นโลกชั้นใน
4.   ถ้าแบ่งโครงสร้างโลกตามองค์ประกอบทางเคมีของหินและแร่ จะแบ่งโครงสร้างโลกได้ตามข้อใด
1. เปลือกโลก เนื้อโลก และแก่นโลก
2. ฐานธรณีภาค ไตรภาค และแก่นโลก
3. ฐานธรณีภาค มัชฌิมภาค และไตรภาค
4. ธรณีภาค ฐานธรณีภาค และมัชฌิมภาค
5. เปลือกโลก เนื้อโลกชั้นนอก และเนื้อโลกชั้นใน
5.   ชั้นแก่นโลกประกอบด้วยธาตุหลักในข้อใด
1. เหล็กและนิกเกิล           2. เหล็กและซิลิคอน
3. เหล็กและออกซิเจน       4. นิกเกิลและออกซิเจน
     5. นิกเกิลและซิลิคอน
6.  ข้อใดไม่ใช่ข้อมูลที่ใช้ในการการศึกษาโครงสร้างโลก
1. องค์ประกอบทางเคมีของอุกกาบาต
2.  องค์ประกอบของหินจากดวงจันทร์
3. องค์ประกอบทางเคมีของหินและแร่
4. วัดอุณหภูมิภายในโลกจากการขุดเจาะหลุม
5. การเคลื่อนที่ของคลื่นไหวสะเทือนที่เคลื่อนที่ผ่านโลก
7.   ข้อใดเป็นวิธีการศึกษาโครงสร้างโลกโดยทางอ้อม
1. ศึกษาจากหินภูเขาไฟ   
2. เจาะสำรวจภายในโลก
3. ศึกษาจากชุดหินโอฟิโอไลต์
4. ศึกษาคลื่นไหวสะเทือนจากแผ่นดินไหว
5. ศึกษาส่วนประกอบทางเคมีของอุกกาบาตที่ตกมายังพื้นโลก
8.   ข้อใดเป็นคลื่นไหวสะเทือนที่ใช้ในการศึกษาโครงสร้างโลก
1. คลื่นเลิฟและคลื่นเรย์ลี 
2. คลื่นเลิฟและคลื่นฮาร์ท
3. คลื่นปฐมภูมิและคลื่นทุติยภูมิ
4. คลื่นทุติยภูมิและคลื่นตติยภูมิ
5. คลื่นตามยาวและคลื่นตามขวาง
9.   คลื่นปฐมภูมิสามารถเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางสถานะใดได้
1. ของเหลว แก๊ส            2. ของไหลพลาสมา
3. ของแข็งผลึกอัญรูป       4. ของแข็ง พลาสมา แก๊ส
5. ของแข็ง  ของเหลว แก๊ส        
10.  คลื่นทุติยภูมิสามารถเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางสถานะใดได้
1. แก๊ส                       2. ของแข็ง         
3. ของเหลว                 4. พลาสมา
5. ของไหล


หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
ธรณีแปรสัณฐาน
ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1.   ข้อใดเป็นข้อมูลที่สนับสนุนว่ามหาสมุทรมีการแผ่ขยายออก
1. ซากดึกดำบรรพ์          
2. แนวภูเขาไฟบริเวณขอบทวีป
3. กลุ่มหินและแนวเทือกเขา
4. อายุหินบนพื้นมหาสมุทร
5. การสะสมตัวของตะกอนธารน้ำแข็ง
2.  ข้อใดไม่ใช่หลักฐานที่สนับสนุนทฤษฎีทวีปเลื่อน
1. ซากดึกดำบรรพ์กลอสโซพเทรีส
2.  รูปร่างของขอบทวีป
3. กลุ่มหินและแนวเทือกเขา
4. การสะสมตัวของตะกอนธารน้ำแข็ง
5. ซากดึกดำบรรพ์ฟิวซูลินิด
3.   มหาสมุทรมีการแยกตัวออกจากกันที่บริเวณใด
1. ร่องลึกก้นสมุทร         
2. หมู่เกาะภูเขาไฟรูปโค้ง                    
3. สันเขากลางสมุทร
4. แนวภูเขาไฟบริเวณขอบทวีป
5. แนวเทือกเขาสูงบริเวณชายฝั่ง  
4.  ข้อใดไม่ใช่หลักฐานที่สนับสนุนทฤษฎีทวีปเลื่อน
1. ซากดึกดำบรรพ์กลอสโซพเทรีส
2.  รูปร่างของขอบทวีป
3. กลุ่มหินและแนวเทือกเขา
4. การสะสมตัวของตะกอนธารน้ำแข็ง
5. ซากดึกดำบรรพ์ฟิวซูลินิด
5.   ข้อใดไม่ใช่คำอธิบายของทฤษฎีธรณีแปรสัณฐาน
1. ธรณีภาคแตกออกเป็นแผ่นธรณี
2. แผ่นธรณีมีการเคลื่อนที่ 3 รูปแบบ
     3. มหาสมุทรมีการแผ่ขยายออกตลอดเวลา
4. การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีทำให้เกิดธรณีสัณฐาน
     5. การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีทำให้เกิดธรณีพิบัติภัย

6.   ข้อใดเป็นธรณีสัณฐานที่เกิดจากแผ่นธรณีเคลื่อนที่
     แยกออกจากกัน
1. หุบเขาทรุด
2. วงแหวนไฟ
3. ร่องลึกก้นสมุทร
     4. แนวเทือกเขาสูง
5. หมู่เกาะภูเขาไฟรูปโค้ง     
7.  ประเทศใดที่อยู่ในบริเวณแนวแผ่นธรณีเคลื่อนที่หากัน
     1. จีน    
2. อียิปต์     
3. ไอซ์แลนด์   
4. อินโดนีเซีย
     5. ซาอุดิอาระเบีย
8.  กระบวนการใดที่ทำให้แผ่นธรณีมีการเคลื่อนที่
1. วงจรการพาความร้อน
2. การปรับสมดุลของเปลือกโลก   
3. การเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่
4. การเพิ่มและลดของระดับน้ำทะเล
5. การเปลี่ยนแปลงรูปร่างวงโคจรของโลก
 9. การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีแบบใดที่ทำให้เกิดสึนามิ
1. แผ่นธรณีมหาสมุทรเคลื่อนที่ผ่านกัน       
2. แผ่นธรณีมหาสมุทรเคลื่อนที่แยกออกจากกัน
3. แผ่นธรณีทวีปเคลื่อนที่แยกออกจากกัน
4. แผ่นธรณีทวีปเคลื่อนที่ผ่านกัน
    5. แผ่นธรณีมหาสมุทรเคลื่อนที่หาแผ่นธรณีทวีป
10.  ธรณีพิบัติภัยใดที่สามารถเกิดขึ้นได้จากเคลื่อนที่
    ของแผ่นธรณีทั้ง 3 รูปแบบ
     1. สึนามิ                    2. ดินถล่ม     
    3. แผ่นดินไหว              4. ภูเขาไฟระเบิด
    5. แผ่นดินทรุด

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
ธรณีพิบัติภัย
ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1.       นักวิทยาศาสตร์ใช้เครื่องมือใดวัดคลื่นไหวสะเทือน
1.     ไซสโมแกรม            2.  ไซสโมมิเตอร์
3.  ริกเตอร์สเกล           4.  มัลติมิเตอร์
     5. เมอร์คัลลีกราฟ
2.     ข้อใดเป็นมาตราวัดขนาดของแผ่นดินไหว
1.     มาตราเมตริก           2.  มาตราอังกฤษ
3.  มาตราริกเตอร์         4.  มาตราเมอร์คัลลี
     5. มาตราเมอร์คัลลีปรับปรุง
3.     เหตุการณ์ในข้อใดไม่ได้เป็นสาเหตุให้เกิดแผ่นดินไหว
1.   การกักเก็บน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่
2.   การผุพังทางเคมีของเปลือกโลก
3.   การทดลองระเบิดปรมาณูใต้ดิน
4.   การปะทุของภูเขาไฟอย่างรุนแรง
5.   การเคลื่อนที่เข้าหากันของแผ่นธรณี
4.       ข้อใดกล่าวเกี่ยวกับสึนามิไม่ถูกต้อง
1.   ความเร็วของคลื่นจะขึ้นอยู่กับความลึก
2.   มักเกิดขึ้นบริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก
3.   เกิดขึ้นทุกครั้งเมื่อเกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.5 ตามมาตราริกเตอร์ขึ้นไป
4.   เป็นคลื่นน้ำที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงเมื่ออยู่กลางมหาสมุทร
5.   เมื่ออยู่กลางมหาสมุทรจะมีความสูงคลื่นน้อย แต่เมื่อเข้าใกล้ชายฝั่งความสูงคลื่นจะเพิ่มมากขึ้น
5.    เหตุการณ์สึนามิเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 เกิดจากแผ่นดินไหวที่มีศูนย์เกิดแผ่นดินไหวอยู่บริเวณประเทศใด
1.    ญี่ปุ่น                   2.  กัมพูชา
3. สิงคโปร์                 4.  ฟิลิปปินส์
   5. อินโดนีเซีย
6.       แผ่นดินไหวที่รู้สึกได้ในประเทศไทยส่วนใหญ่มีศูนย์เกิดแผ่นดินไหวอยู่ในประเทศใด
1.    ลาว                    2.  เมียนมา
3.  สิงคโปร์               4.  เวียดนาม      
       5. อินโดนีเซีย
7.       หากเกิดแผ่นดินไหวในขณะที่นักเรียนกำลังเรียนหนังสืออยู่ในห้องเรียน ควรปฏิบัติอย่างไร
1.    มุดตัวอยู่ใต้โต๊ะที่มีความแข็งแรง
2.    รีบปิดประตูและหน้าต่างให้มิดชิด
3.    รีบวิ่งออกจากห้องเรียนให้เร็วที่สุด
4.    หากมีลิฟต์ ให้รีบใช้ลิฟต์เพื่อออกจากอาคาร
5.    รีบไปอยู่บริเวณใกล้กับกำแพงที่มีความแข็งแรง
8.       เมื่อเกิดเหตุการณ์ภูเขาไฟระเบิด มีหลายสิ่งที่ปะทุออกมาจากภูเขาไฟ ยกเว้นข้อใด
1.  เถ้าภูเขาไฟ             2. แก๊ส
        3. ลาวา                     4. เศษหิน
        5. หยดน้ำ
9.       บริเวณใดที่มีโอกาสเกิดภูเขาไฟระเบิดมากที่สุด
1.   แนวเทือกเขาหิมาลัย
2.   บริเวณกลางมหาสมุทรแปซิฟิก
3.   แนวสันเขากลางมหาสมุทรแปซิฟิก
4.   บริเวณวงแหวนแห่งไฟ
5.   แนวสันเขากลางมหาสมุทรแอตแลนติก
10.   วงแหวนแห่งไฟคือพื้นที่บริเวณใด
1.  บริเวณรอบมหาสมุทรแปซิฟิก
2.  บริเวณประเทศอินโดนีเซียที่เกิดสึนามิ
3.  แนวรอยต่อของเทือกเขาเอลป์ในทวีปยุโยป
4.  บริเวณเทือกเขากลางมหาสมุทรแอตแลนติก
แนวรอยต่อของเทือกเขาหิมาลัยในทวีปเอเชีย

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4
ลำดับชั้นหิน
ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. ข้อใดเป็นการบอกอายุเปรียบเทียบ
    1. หินชีสต์อายุ 2,000 ล้านปี
    2. ต้นไม้มีวงปี 250 วง
    3. ซากดึกดำบรรพ์ช้างอายุ 4 แสนปี
    4. หินทรายมีอายุมากกว่าหินปูน
    5. หินไนส์มีอายุอยู่ในยุคไทรแอสสิก
2.  กระบวนการใดที่อาจทำให้ชั้นหินมีการพลิกกลับ
    1. การยกตัวของเปลือกโลก                     
    2. การกร่อน    
    3. รอยคดโค้ง               
    4. กระบวนการของแมกมา
    5. การแปรสภาพของหิน
3.   ข้อใดอธิบายกฎการลำดับชั้น
    1. หินทรายที่อยู่วางตัวบนชั้นหินปูนมีอายุน้อยกว่า 
    2. หินอัคนีที่แทรกตัดเข้ามามีอายุมากกว่าหินเดิม
    3. หินอัคนีที่แทรกตัดเข้ามามีอายุน้อยกว่าหินเดิม 
    4. รอยเลื่อนที่แทรกตัดเข้ามามีอายุมากกว่าหินเดิม
    5. รอยเลื่อนแทรกตัดเข้ามามีอายุน้อยกว่าหินเดิม 
4.   กระบวนการในข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับรอยชั้นไม่ต่อเนื่อง
    1. การยกตัวของเปลือกโลก
    2. การกร่อน
    3. กระบวนการของแมกมา
    4. การสะสมตัวของตะกอน
    5. การนำพา
5.   ถ้าต้องการหาอายุของหินในบรมยุคพรีแคมเบรียน
    ควรใช้ไอโซโทปของธาตุใด
    1. โพแทสเซียม
    2. คาร์บอน
    3. ออกซิเจน
    4. ไฮโดรเจน
    5. ไนโตรเจน    
6.   ข้อใดไม่ใช่หน่วยหินที่ใช้ในการลำดับชั้นหิน
1. ชั้นหิน
2. ชุดหิน
3. หมู่หิน
4. กลุ่มหิน
5. หมวดหิน
7.  ถ้าต้องการหาอายุของซากดึกดำบรรพ์ที่อายุ 20,000 ปี
    ควรใช้ไอโซโทปของธาตุใด
     1. โพแทสเซียม    
2. คาร์บอน     
3. อาร์กอน   
4. รูบิเดียม
5. ยูเรเนียม  
8.   ข้อใดเป็นกลุ่มหินที่มีอายุมากที่สุดในประเทศไทย
1. กลุ่มหินแม่เมาะ         
2. กลุ่มหินราชบุรี
3. กลุ่มหินทับศิลา
4. กลุ่มหินทองผาภูมิ
5. กลุ่มหินราชบุรี
  9.   ยุคใดที่ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปจนหมด
1. ไทรแอสสิก            
2. จูแรสสิก
3. ครีเทเชียส
4. พาลีโอจีน
5. เพอร์เมียน
10.  ยุคใดที่สัตว์ทะเลสูญพันธุ์มากที่สุด
     1. พรีแคมเบรียน    
2. แคมเบรียน     
3. ไซลูเรียน   
4. ดีโวเนียน
5. เพอร์เมียน


หน่วยการเรียนรู้ที่ 5
ทรัพยากรธรณี
ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
พิจารณาข้อมูล แล้วตอบคำถามข้อ 1.-2.
การทดสอบสมบัติทางกายภาพของแร่ 3 ชนิด ดังนี้
-     แร่ชนิดที่ 1 ผิวมีลักษณะคล้ายแก้ว
-     แร่ชนิดที่ 2 เมื่อนำไปขูดกับกระเบื้องสีขาวที่ไม่ได้เคลือบ ได้ผงสีน้ำตาล
-     แร่ชนิดที่ 3 ขูดกระจกเป็นรอยได้
1.   จากการทดสอบแร่ทั้ง 3 ชนิด สามารถนำข้อมูลไปใช้ด้านในใดมากที่สุด
1.   บอกชนิดของแร่
2.   บอกช่วงเวลาการเกิดแร่
3.   บอกอัตราการผุพังของแร่
4.   บอกสภาพแวดล้อมขณะเกิดแร่
5.   บอกการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบภายในของแร่
2.   จากข้อมูลเป็นการทดสอบสมบัติทางกายภาพสมบัติใดตามลำดับ
1.   ผลึก สี ความแข็ง
2.   ความโปร่ง สี ความแข็ง
3.   ความวาว สีผง ความแข็ง
4.   แนวแตกเรียบ ความแข็ง สี
5.   ลักษณะผลึก สีผง ความแข็ง
3.   เพราะเหตุใดหินอัคนีที่เย็นตัวบนผิวโลกจึงมีผลึกขนาดเล็ก
1.   หินหนืดเย็นตัวลงอย่างช้าๆ
2.   หินหนืดมีปริมาณซิลิกามาก
3.   ความดันภายใต้ผิวโลกสูงมาก
4.   หินหนืดเย็นตัวลงอย่างรวดเร็ว
         หินหนืดมีความหนาแน่นสูงมาก
4.   หากทดลองหยดกรดลงบนหินชนิดหนึ่งปรากฏว่าเกิดฟอง แสดงว่าหินนั้นเป็นหินชนิดใด
1.   หินปูน   
2.   หินทราย
3.   หินชนวน
4.   หินแกรนิต
5.   หินดินดาน
5.   โครงสร้างกักเก็บปิโตรเลียมและชั้นหินปิดกั้นควรมีสมบัติตามข้อใด
1.     มีอัตราการซึมผ่านสูง
2.     มีความพรุนในเนื้อหิน
3.     มีรอยแตกแบบต่อเนื่อง
4.     มีความหนาแน่นต่ำมาก
5.     ของเหลวและแก๊สไม่สามารถซึมผ่านได้

6.   ทรัพยากรปิโตรเลียมในทะเลอ่าวไทยส่วนใหญ่เป็นประเภทใด
1.     ถ่านหิน
2.     น้ำมันดิบ
3.     หินน้ำมัน
4.     ทรายน้ำมัน
5.     แก๊สธรรมชาติ
7.     การแยกน้ำมันดิบใช้หลักการใด
1.     การกลั่น
2.     การกรอง
3.     การตกผลึก
4.     การตกตะกอน
5.     การกลั่นลำดับส่วน
8.     ถ่านหินในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นประเภทใด
1.     พีต
2.     ลิกไนต์
3.     บิทูมินัส
4.     ซับบิทูมินัส
5.     แอนทราไซต์
9.     บริเวณใดของประเทศไทยที่มีการทำเหมืองถ่านหินมากที่สุด
1.     ภาคใต้
2.     ภาคเหนือ
3.     ภาคกลาง
4.     ภาคตะวันออก
5.     ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
10.      แหล่งเหมือนถ่านหินสำรองที่มีปริมาณมากที่สุดในประเทศไทยอยู่ในจังหวัดใด
1.     แพร่
2.     ลำพูน
3.     ลำปาง
4.     เชียงใหม่
        5.  เชียงราย

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6
แผนที่
ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
พิจารณาข้อความและภาพ แล้วตอบคำถามข้อ 1.-4.
แผนที่ภูมิประเทศแสดงพื้นที่เกาะแห่งหนึ่ง จุด A B C และ D แสดงตำแหน่งต่างๆ บนเกาะ สัญลักษณ์รูปสามเหลี่ยมแสดงตำแหน่งที่มีระดับความสูงที่สุด ซึ่งระดับความสูงมีหน่วยเป็นเมตร และเส้นชั้น         ความสูงแต่ละเส้นมีความสูงต่างกัน 20 เมตร
 
1.     ผลต่างของระดับความสูงระหว่างจุด C กับจุด D มีค่าเท่าใด
        1.  10 เมตร            2.  20 เมตร
        3.  40 เมตร            4.  60 เมตร
        5.  80 เมตร
2.     ภาพตัดขวางทางธรณีวิทยาตามแนว AB มีลักษณะอย่างไร
1.     วงรี
2.     เส้นตรง
3.     ครึ่งวงกลม
4.     เส้นโค้งรูประฆังคว่ำ
5.     เส้นโค้งรูประฆังหงาย
3. การไหลของน้ำตามทางน้ำที่ปรากฏในแผนที่  มีทิศทางไปแนวใด
1.     ทิศใต้
2.     ทิศเหนือ
3.     ทิศตะวันตกเฉียงใต้
4.     ทิศตะวันออกเฉียงใต้
5.     ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
  4.     ลักษณะใดที่แสดงให้เห็นว่าพื้นที่ด้านทิศเหนือของเกาะมีความลาดชันมาก
1.     เส้นชั้นความสูงอยู่ชิดกันมาก
2.     เส้นชั้นความสูงอยู่ห่างกันมาก
3.     เส้นชั้นความสูงมีลักษณะเป็นวงรี
4.     เส้นชั้นความสูงมีลักษณะเป็นวงกลม
5.     เส้นชั้นความสูงมีลักษณะเป็นรูปตัววี
  5.     หากสร้างเส้นชั้นความสูงจากลักษณะภูมิประเทศในภาพ จะไม่สามารถพบเส้นชั้นความสูงแบบใด

1.     เส้นชั้นความสูงชิดกันมาก
2.     เส้นชั้นความสูงเป็นรูปวงรี
3.     เส้นชั้นความสูงเป็นรูปตัวยู
4.     เส้นชั้นความสูงที่ไม่บรรจบกัน
5.     เส้นชั้นความสูงที่ห่างกันอย่างสม่ำเสมอ

6.     ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับแผนที่
1.     การแสดงทิศทางในแผนที่มักใช้ทิศเหนือเป็นทิศทางหลัก
2.     เส้นรุ้ง เป็นเส้นสมมติบนผิวโลกที่ลากในแนวนอนขนานกับเส้นศูนย์สูตร
3.     เส้นแวง เป็นเส้นสมมติบนผิวโลกที่ลากในแนวตั้งจากขั้วโลกเหนือไปขั้วโลกใต้
4.     ระบบพิกัด UTM เป็นระบบที่ใช้ในการทำแผนที่บริเวณละติจูด 84o เหนือขึ้นไป และละติจูต 80o ใต้ลงไป
             5.  ระบบพิกัดภูมิศาสตร์ เป็นระบบพิกัดที่กำหนดตำแหน่งต่างๆ บนพื้นโลกโดยอ้างอิงเป็นค่าระยะเชิงมุมของลองจิจูดและละติจูด

     7.   การใช้สีแสดงสิ่งต่างๆ ในแผนที่ภูมิประเทศในข้อใดไม่ถูกต้อง
1.     วัด : สีดำ
2.     ถนน : สีเทา
3.     ป่าไม้ : สีเขียว
4.     ทะเล : สีน้ำเงิน
5.     เทือกเขา : สีน้ำตาล

8.   หากต้องการเลือกสถานที่ทิ้งสารเคมี ควรใช้ข้อมูลจากแผนที่ใดมาประกอบการตัดสินใจ
1.   แผนที่แหล่งแร่
2.   แผนที่ธรณีวิทยา
3.   แผนที่ภูมิประเทศ
4.   แผนที่ทรัพยากรป่าไม้
        5. แผนที่แหล่งขุดเจาะน้ำมัน

9.     หากพิจารณาแผนที่ธรณีวิทยาของสถานที่หนึ่ง พบว่ามีสีแดงเป็นส่วนมาก แสดงว่าพื้นที่นั้นประกอบด้วยหินชนิดใดเป็นส่วนมาก
1.     หินชั้น
2.     หินแปร
3.     หินอัคนี
4.     หินทราย
5.     หินตะกอน

10.  สีใดในแผนที่ธรณีวิทยาที่แสดงถึงยุคที่เก่าแก่ที่สุด
1.     สีขาว
2.     สีเขียว
3.     สีเหลือง
4.     สีน้ำเงิน
5.     สีน้ำตาล









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น