ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1



หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1.ข้อใดเป็นประโยชน์ของกระบวนการศึกษาทางวิทยาศาสตร์
       ก.   เกิดการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล
       ข.   ข้อมูลที่ได้รับมีความน่าเชื่อถือ และเผยแพร่แก่ผู้อื่นได้
       ค.   เกิดการแก้ปัญหาเพื่อหาคำตอบของสิ่งที่สงสัยอย่างเป็นระบบ
       ง.   ถูกทุกข้อ
  2ลำดับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นอย่างไร
       ก.   สังเกต ® ระบุปัญหา ® รวบรวมข้อมูล
            ® ตั้งสมมติฐาน ® ทดลอง
       ข.   ระบุปัญหา ® รวบรวมข้อมูล ® ตั้งสมมติฐาน  ® ทดลอง ® สรุปผล
       ค.   ระบุปัญหา ® ตั้งสมมติฐาน ® ทดลอง
            ® รวบรวมข้อมูล ® สรุปผล
       ง.   ตั้งสมมติฐาน ® สังเกต ® ระบุปัญหา
            ® ทดลอง ® สรุปผล
  3.  ขั้นตอนแรกของกระบวนการศึกษาทางวิทยาศาสตร์    คืออะไร
       ก.   การคาดคะเนคำตอบของปัญหา
       ข.   การนำเสนอข้อมูลให้ผู้อื่นเข้าใจ
       ค.   การหาข้อมูลเพื่อรวบรวมข้อมูล
       ง.   การสังเกตเพื่อระบุปัญหา
  4สมมติฐานคืออะไร
       ก.   การคาดคะเนคำตอบของคำถาม หรือสิ่งที่สงสัย
       ข.   การระบุคำถามซึ่งเกิดขึ้นจากการสังเกต
       ค.   การตอบคำถามก่อนทำการทดลอง
       ง.   การวางแผนการทำงาน
  5.  ข้อความใดที่ไม่ได้เกิดจากการสังเกต
       ก.   ผ้าผืนนี้มันวาวกว่าผ้าผืนนั้น
       ข.   โต๊ะตัวนี้สูง 150 เซนติเมตร
       ค.   วันนี้อากาศร้อนอบอ้าว
       ง.   น้ำยาขวดนี้มีกลิ่นฉุน
6. สิ่งของที่เห็นในภาพ คือข้อใด
                                        ก.  ราวตากผ้า
                           ข.  เชือกฟาง                              ค.  รองเท้า                                ง.   ด้าย


  7.  ความหนาแน่น หมายถึงอะไร
       ก.   อัตราส่วนระหว่าง มวล ส่วน น้ำหนัก   
       ข.   อัตราส่วนระหว่าง ปริมาตร ส่วน มวล
       ค.   อัตราส่วนระหว่าง มวล ส่วน ปริมาตร
       ง.   อัตราส่วนระหว่าง ปริมาตร ส่วน น้ำหนัก
  8.  เครื่องมือในการวัดที่เป็นมาตรฐาน คืออะไร
       ก.   กระบอกตวง ตาชั่งสองแขน แท่งไม้
       ข.   ไม้บรรทัด ตาชั่งสปริง กระบอกตวง
       ค.   เทอร์มอมิเตอร์ ไม้เมตร ขวดน้ำ
       ง.   ฝ่ามือ นิ้ว เทอร์มอมิเตอร์
  9.  ถ้านักเรียนต้องการทำการวัดปริมาตรของน้ำดื่มขวดหนึ่ง ควรเลือกใช้เครื่องมือชนิดใด เพื่อให้ได้ค่าที่ถูกต้องมากที่สุด
       ก.   เครื่องชั่งแบบดิจิตอล  ข.  กระบอกตวง
       ค.   ขวดน้ำดื่ม                ง.   ถังน้ำ
10.  ทุกข้อเป็นลักษณะของการเขียนรายงานการทดลองที่ดี ยกเว้นข้อใด
       ก.   จัดระบบข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ
       ข.   มีข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมมากๆ
       ค.   ใช้ภาษาในการเขียนที่เข้าใจง่าย
       ง.   มีส่วนประกอบครบถ้วน


หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. ถ้าใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องดูวัตถุโดยใช้เลนส์ใกล้วัตถุกำลังขยาย 40X และถ้าเลนส์ใกล้ตามีกำลังขยาย 10X  จะขยายวัตถุได้กี่เท่า
         ก.   400 เท่า
         ข.   50 เท่า
         ค.   40 เท่า
         ง.    30 เท่า
    2.  หน่วยที่เล็กที่สุดที่ทำหน้าที่ในการดำรงชีวิตอย่างสมบูรณ์ ได้แก่ข้อใด
         ก.   โมเลกุลของโปรตีน
         ข.   เม็ดคลอโรพลาสต์
         ค.   นิวเคลียส
         ง.    เซลล์
    3.  เซลล์จะเก็บสะสมสารต่างๆ ไว้ในโครงสร้างใด
         ก.   คลอโรพลาสต์            ข.   ไมโทคอนเดรีย         
         ค.   กอลจิบอดี                  ง.   แวคิวโอล
    4.  ในเซลล์พืชและเซลล์สัตว์มีโครงสร้างใดที่มีขนาด แตกต่างกันอย่างชัดเจน
         ก.   เยื่อหุ้มเซลล์                ข.   โครโมโซม
         ค.   แวคิวโอล                    ง.    นิวเคลียส
    5.  ข้อความใดกล่าวถูกต้องที่สุด
         ก.   เซลล์สัตว์มีลักษณะอ่อนนุ่ม เพราะผนังเซลล์            ประกอบด้วยสารโปรตีน
         ข.   เซลล์พืชมีแวคิวโอลขนาดใหญ่ ส่วนเซลล์สัตว์
                มีแวคิวโอลขนาดเล็ก
         ค.   ทั้งเซลล์พืชและเซลล์สัตว์มีสิ่งที่เหมือนกัน คือ
                คลอโรพลาสต์
         ง.    เซลล์พืชมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยม เพราะไม่มีผนังเซลล์
6. ส่วนประกอบใดของเซลล์ที่ช่วยให้เซลล์สามารถดำรงสภาพอยู่ได้อย่างปกติ
         ก.   ผนังเซลล์                     ข.   นิวเคลียส
         ค.   เยื่อหุ้มเซลล์                 ง.    ไซโทพลาซึม
    7.  เหตุผลใดที่จัดให้เยื่อหุ้มเซลล์มีคุณสมบัติเป็น           เยื่อเลือกผ่าน
         ก.   ยอมให้โมเลกุลของสารผ่านออกมาได้
                แต่ผ่านเข้าไปไม่ได้
         ข.   ยอมให้โมเลกุลของสารผ่านเข้าไปได้
                แต่ผ่านออกมาไม่ได้
         ค.   ยอมให้โมเลกุลของสารบางชนิดเท่านั้นผ่านได้
         ง.    ยอมให้โมเลกุลของสารทุกชนิดผ่านได้
    8.  พืชสามารถสร้างอาหารเองได้เพราะในไซโทพลาซึม      มีสารชนิดใด
         ก.   นิวเคลียส
         ข.   ไรโบโซม
         ค.   คลอโรพลาสต์
         ง.    ไมโทคอนเดรีย
    9.  เพราะเหตุใด เซลล์สัตว์ส่วนมากจึงมีรูปร่างไม่แน่นอน  และไม่สามารถคงรูปอยู่ได้
         ก.   เพราะไม่มีคลอโรพลาสต์    
         ข.   เพราะมีเยื่อหุ้มเซลล์
         ค.   เพราะไม่มีผนังเซลล์  
         ง.    เพราะมีแวคิวโอล
  10สารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอ มีอยู่ในส่วนใดของเซลล์
         ก.   คลอโรพลาสต์                   ข.                ไซโทพลาซึม
         ค.   เยื่อหุ้มเซลล์                ง.        นิวเคลียส

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
กระบวนการในการดำรงชีวิตของพืช(ตอนที่1)
คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. ข้อใดไม่เกิดจากการแพร่
         ก.   โมเลกุลของน้ำเคลื่อนที่จากบริเวณที่มีโมเลกุลมากไปยังบริเวณที่มีโมเลกุลน้อย
         ข.   กลิ่นหอมของน้ำหอมกระจายไปทั่วห้อง
         ค.   การผสมกันของของเหลว 2 ชนิดขึ้นไป
         ง.    ผลึกของด่างทับทิมละลายในน้ำ
    2.  การออสโมซิสกับการแพร่แตกต่างกันอย่างไร
         ก.   ออสโมซิสเป็นการเคลื่อนที่ของโมเลกุลของสาร       จากบริเวณที่มีความเข้มข้นสูงไปสู่บริเวณที่มีความเข้มข้นต่ำ ส่วนการแพร่จะตรงกันข้าม
         ข.   ออสโมซิสเกี่ยวข้องกับโมเลกุลของน้ำโดยเฉพาะ   กับเยื่อเลือกผ่าน ส่วนการแพร่เกี่ยวข้องกับโมเลกุลของสารทุกชนิด
         ค.   ออสโมซิสต้องผ่านเยื่อเลือกผ่าน ส่วนการแพร่             ไม่ต้องผ่าน
         ง.    ออสโมซิสเกิดขึ้นในเซลล์ ส่วนการแพร่เกิดขึ้น       นอกเซลล์
    3.  การควั่นเปลือกไม้ของพืชใบเลี้ยงคู่จะมีผลต่อการทำงานของระบบใดมากที่สุด
         ก.   ระบบสังเคราะห์ด้วยแสง
         ข.   ระบบแลกเปลี่ยนแก๊ส
         ค.   ระบบลำเลียงอาหาร
         ง.    ระบบลำเลียงน้ำ
    4.  ท่อลำเลียงอาหารในพืชเรียกว่าอะไร
         ก.   วาสคิวลา บันเดิล        ข.   โฟลเอ็ม
         ค.   สโตมา                         ง.   ไซเล็ม
    5.  แก๊สออกซิเจนเข้าสู่รากพืชได้โดยวิธีใด
         ก.   การขยายตัวของแก๊ส
         ข.   การดูดซึม
         ค.   ออสโมซิส                  
         ง.    การแพร่
6. การคายน้ำของพืชไม่มีส่วนช่วยในการทำหน้าที่อะไร
         ก.   การลำเลียงอาหารทางท่อลำเลียงอาหาร
         ข.   การลดอุณหภูมิที่ใบเมื่อได้รับแสงแดด
         ค.   การลำเลียงน้ำทางท่อลำเลียงน้ำ
         ง.    การลำเลียงเกลือแร่ขึ้นสู่ใบ
    7.  น้ำตาลที่พืชสร้างขึ้นจะลำเลียงไปในลักษณะใด
         ก.   ลำเลียงไปโดยการแพร่ไปตามส่วนต่างๆ ของพืช
         ข.   ลำเลียงไปในท่อลำเลียงอาหาร
         ค.   ลำเลียงไปในท่อลำเลียงแร่ธาตุ
         ง.    ลำเลียงไปในท่อลำเลียงน้ำ
    8ข้อใดสรุปเกี่ยวกับการหมุนเวียนแก๊สในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงที่ใบพืชได้ถูกต้อง
         ก.   มีการดูดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
                และคายแก๊สออกซิเจน
         ข.   มีการคายแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
                และดูดแก๊สออกซิเจน
         ค.   มีการคายแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เพียงอย่างเดียว
         ง.    มีการคายแก๊สออกซิเจนเพียงอย่างเดียว
    9.  เมื่อนำส่วนรากของต้นเทียนไปแช่ในน้ำหมึกสีแดงแล้ว  ทิ้งไว้ 1 คืน จะเห็นหมึกสีแดงเคลื่อนที่ไปในต้นเทียน   ตามท่อลำเลียงใด
         ก.   ท่อลำเลียงน้ำและอาหาร 
         ข.   ท่อลำเลียงอาหาร
         ค.   โฟลเอ็ม                      
         ง.    ไซเล็ม
  10สารที่เป็นผลิตภัณฑ์ตัวแรกที่เกิดจากการสังเคราะห์   ด้วยแสง คืออะไร
         ก.   เซลลูโลส                    ข.   ซูโครส
         ค.   กลูโคส                        ง.   แป้ง


หน่วยการเรียนรู้ที่ 4
กระบวนการในการดำรงชีวิตของพืช(ตอนที่2)
คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. ส่วนประกอบของดอกไม้เรียงลำดับจากชั้นนอกสุด          ไปยังชั้นในสุด ข้อใดถูกต้อง
         ก.   กลีบเลี้ยง กลีบดอก เกสรเพศเมีย เกสรเพศผู้
         ข.   กลีบดอก กลีบเลี้ยง เกสรเพศเมีย เกสรเพศผู้
         ค.   กลีบเลี้ยง กลีบดอก เกสรเพศผู้ เกสรเพศเมีย
         ง.    กลีบดอก กลีบเลี้ยง เกสรเพศผู้ เกสรเพศเมีย
    2.  ส่วนประกอบใดของพืชที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์           แบบอาศัยเพศโดยตรง
         ก.   เกสรเพศผู้และเกสรเพศเมีย 
         ข.   ก้านชูเกสรเพศเมีย     
         ค.   กลีบเลี้ยง
         ง.    กลีบดอก
    3.  การที่ละอองเรณูจากเกสรเพศผู้ปลิวไปตกลงบนยอดเกสรเพศเมีย เรียกเหตุการณ์นี้ว่าอะไร
         ก.   การกระจายของละอองเรณู
         ข.   การถ่ายละอองเรณู
         ค.   การผสมเกสร
         ง.    การปฏิสนธิ
    4.  การปฏิสนธิของพืชเกิดขึ้นเมื่อใด
         ก.   ละอองเรณูตกบนยอดเกสรเพศเมีย    
         ข.   เสปิร์มเซลล์ผสมกับเซลล์ไข่
         ค.   เมล็ดเริ่มงอกเป็นต้นใหม่
         ง.    กลีบดอกไม้เริ่มบาน
   5.  จงเรียงลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในการสืบพันธุ์แบบ           อาศัยเพศของพืช ตามลำดับก่อนหลัง
         ก.   การปฏิสนธิ การถ่ายละอองเรณู การแพร่พันธุ์ของเมล็ด
         ข.   การปฏิสนธิ การแพร่พันธุ์ของเมล็ด การถ่ายละอองเรณู
         ค.   การแพร่พันธุ์ของเมล็ด การถ่ายละอองเรณู การปฏิสนธิ
    ง.    การถ่ายละอองเรณู การปฏิสนธิ การแพร่พันธุ์ของเมล็ด
6. “แคลลัส มีความสัมพันธ์กับสิ่งใดต่อไปนี้มากที่สุด
         ก.   การตัดแต่งพันธุกรรม
         ข.   การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
         ค.   การคัดเลือกพันธุ์
         ง.    พันธุวิศวกรรม
    7.  วิธีใดเป็นการกำจัดแมลงโดยวิธีชีวภาพ
         ก.   ทำลายส่วนต่างๆ ของพืชที่แมลงไข่และอาศัยอยู่
         ข.   ใช้แมลงชนิดหนึ่งทำลายอีกชนิดหนึ่ง
         ค.   ทำลายซากพืชซากสัตว์
         ง.    ปลูกพืชหมุนเวียน
    8.  ความสำคัญของเทคโนโลยีชีวภาพสอดคล้องกับสิ่งใด
         ก.   เพิ่มผลผลิตพืชให้มีประสิทธิภาพ
         ข.   กำจัดพืชที่เป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อม
         ค.   หาทางลดพื้นที่ทำการเกษตร
         ง.    ป้องกันไม่ให้พืชกลายพันธุ์
    9.  ลักษณะการงอกของรากพืชเนื่องมาจากสาเหตุใด    เป็นสำคัญ
         ก.   มีแรงโน้มถ่วงของโลกเป็นสิ่งเร้า
         ข.   พืชต้องการหาอาหารให้ได้ไกลๆ
         ค.   ความเต่งของเซลล์ภายในต้นพืช
         ง.    ใต้ดินมีอุณหภูมิต่างจากผิวดิน
  10.  การเคลื่อนไหวแบบใดไม่สัมพันธ์กับทิศทางของสิ่งเร้า
         ก.   การหันเข้าหาแสงของดอกทานตะวัน
         ข.   การเจริญของยอดพืชเข้าหาแสง
         ค.   การหุบและบานของกล้วยไม้
         ง.    การเจริญของรากพืชเข้าหาน้ำ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5
สมบัติของสารและการจำแนกสาร
คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
    1.  ขณะที่น้ำแข็งกำลังละลาย สิ่งใดที่มีการเปลี่ยนแปลง
         ก.   การเคลื่อนที่ของโมเลกุล    
         ข.   น้ำหนักโมเลกุล
         ค.   ขนาดโมเลกุล            
         ง.    มวลโมเลกุล
    2.  สิ่งใดต่อไปนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสาร
         ก.   การละลายน้ำของสารจุนสี
         ข.   การทุบดินน้ำมัน
         ค.   การเดือดของน้ำ
         ง.    การเผากระดาษ
    3.  สารละลายชนิดหนึ่งมีสถานะเป็นของเหลวปริมาตร 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร เกิดจากการผสมของสาร ก ซึ่งเป็นของเหลว 40 ลูกบาศก์เซนติเมตร กับสาร ข ซึ่งมีสถานะเป็นของเหลวเช่นเดียวกัน 60 ลูกบาศก์เซนติเมตร ข้อความในข้อใดกล่าวถูกต้อง
         ก.   สาร ข เป็นตัวละลาย สาร ก เป็นตัวทำละลาย
         ข.   สาร ก เป็นตัวละลาย สาร ข เป็นตัวทำละลาย
         ค.   สารนี้ไม่มีตัวทำละลาย มีแต่ตัวละลาย
         ง.    ทั้งสาร ก และ ข เป็นตัวทำละลาย
    4.  สารใดสามารถเคลื่อนที่ผ่านเซลโลเฟนได้
         ก.   น้ำส้มสายชู                  ข.   น้ำอบไทย
         ค.   น้ำส้มคั้น                     ง.   น้ำสลัด
    5สารละลายน้ำตาลมีความเข้มข้นร้อยละ 10 โดยมวลต่อปริมาตร มีความหมายตรงกับข้อใด
         ก.   สารละลาย 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร
                มีน้ำตาลละลายอยู่ 100 กรัม
         ข.   สารละลาย 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร
                มีน้ำตาลละลายอยู่ 10 กรัม
         ค.   สารละลาย 100 กรัม มีน้ำตาลละลายอยู่ 10 กรัม
         ง.    สารละลาย 90 กรัม มีน้ำตาลละลายอยู่ 10 กรัม

6. สาร 2 ชนิด รวมกันอยู่ในแก้วใบหนึ่ง ซึ่งสามารถมองเห็นลักษณะของสารทั้ง 2 ชนิดแตกต่างกันชัดเจน เมื่อเขย่าสารทั้งสองจะรวมกัน แต่ไม่มีการกระจาย และเมื่อตั้งทิ้งไว้จะมีการตกตะกอน สารดังกล่าวจัดเป็นสารประเภทใด
         ก.   สารคอลลอยด์            ข.   สารแขวนลอย
         ค.   สารละลาย                   ง.   สารบริสุทธิ์
    7.  การนำไฟฟ้าเป็นสมบัติของวัตถุด้านใด
         ก.   ทางกายภาพ และชีวภาพ 
         ข.   ทางกายภาพ
         ค.   ทางชีวภาพ
         ง.    ทางเคมี
    8.  “อิมัลชั่น มีความเกี่ยวข้องกับสิ่งใดต่อไปนี้มากที่สุด
         ก.   โมเลกุลของแก๊สที่กระจายอยู่ในสารละลายกรด
         ข.   โมเลกุลของของแข็งที่ไม่ละลายน้ำ
         ค.   สารที่เกิดจากกรดผสมเบส
         ง.    น้ำผสมกับน้ำมันพืช
9.ข้อใดเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างธาตุกับสารประกอบได้ถูกต้อง
         ก.   ธาตุเกิดจากสารเพียงชนิดเดียว สารประกอบ
                เกิดจากธาตุตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป
         ข.   ธาตุมีเพียง 1 อะตอม สารประกอบมีตั้งแต่
                2 อะตอมขึ้นไป
         ค.   ธาตุเป็นสารบริสุทธิ์ สารประกอบเป็นสารไม่บริสุทธิ์
         ง.    ธาตุเป็นสารเนื้อเดียว สารประกอบเป็นสารเนื้อผสม
  10.  อากาศมีสารใดเป็นตัวทำละลาย
         ก.   ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์    
         ข.   ก๊าซไฮโดรเจน
         ค.   ก๊าซไนโตรเจน           
         ง.   ก๊าซออกซิเจน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6
สมบัติของสารละลายกรด-เบส
คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
    1.  สารชนิดใดเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีน้ำเงิน
         เป็นสีแดง
         ก.   ผงซักฟอก ยาสีฟัน น้ำยาล้างห้องน้ำ
         ข.   น้ำมะขามเปียก น้ำอัดลม น้ำกลั่น
         ค.   น้ำโซดา น้ำส้มสายชู น้ำอัดลม
         ง.    ยาลดกรด ผงฟู น้ำขี้เถ้า
    2.  เบสทำปฏิกิริยากับสารชนิดใดแล้วได้สารคล้ายสบู่
         ก.   น้ำส้มสายชู                 
         ข.   อะลูมิเนียม
         ค.   แอมโมเนีย                 
         ง.    น้ำมันพืช
    3.  ฝนกรดทำปฏิกิริยากับหินปูนจะได้สารชนิดใด
         ก.   น้ำและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์       
         ข.   แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
         ค.   แก๊สไฮโดรเจน
         ง.    น้ำ
    4.  สารใดที่มีสมบัติล้างไขมันได้ดี
         ก.   ดินประสิว
         ข.   น้ำโซดา
         ค.   โซดาไฟ
         ง.    น้ำอัดลม
    5.  เมื่อหย่อนโลหะสังกะสีลงในสารละลายกรดจะเกิดฟองแก๊สชนิดใด
         ก.   คาร์บอนไดออกไซด์
         ข.   ไฮโดรเจน
         ค.   ออกซิเจน
         ง.    ไนโตรเจน
6. ภาชนะใดที่เหมาะกับการใส่สารที่มีสมบัติเป็นกรด
         ก.   พลาสติก                      ข.   สังกะสี
         ค.   หินปูน                         ง.   แก้ว
จากตารางใช้ตอบคำถาม ข้อ 7-10
ชนิดของสารละลาย
การทดสอบ
กระดาษลิตมัส
ค่า pH
สารละลายเจน-เชียนไวโอเลต
สีแดง
สีน้ำเงิน
A
สีแดง
4
ไม่เปลี่ยนแปลง
B
สีน้ำเงิน
8
ไม่เปลี่ยนแปลง
C
7
ไม่เปลี่ยนแปลง
D
สีแดง
2
สีเขียว
E
สีน้ำเงิน
10
ไม่เปลี่ยนแปลง
    7สารละลายใดมีสมบัติเป็นกรด
         ก.   สาร B และ E               ข.   สาร A และ D
         ค.   เฉพาะสาร D                ง.   เฉพาะสาร C
    8.  สารละลายใดมีสมบัติเป็นเบส
         ก.   สาร A, B, C และ E     ข.   สาร B และ E
         ค.   สาร A และ D              ง.   เฉพาะสาร C
    9.  สารละลายใดมีสมบัติเป็นกลาง
         ก.   สาร A, B, C และ E     ข.   สาร B และ E
         ค.   สาร A และ D              ง.   เฉพาะสาร C
  10.  สาร D ทำปฏิกิริยากับสารละลายเจนเชียนไวโอเลตแล้วเปลี่ยนเป็นสีเขียว แสดงว่า สารนั้นมีสมบัติอย่างไร
         ก.   เป็นกรดอนินทรีย์
         ข.   เป็นกรดอินทรีย์
         ค.   เป็นกลาง
         ง.    เป็นเบส
    
หน่วยการเรียนรู้ที่ 7
แรงและการเคลื่อนที่
คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
ใช้ข้อมูลต่อไปนี้ ตอบคำถามข้อ 1.-2.
         1)    การกระจัด
         2)    วันนี้อากาศร้อนอุณหภูมิ 38 องศาเซลเซียส
         3)    รถยนต์แล่นด้วยอัตราเร็ว 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
         4)    ในการวิ่งแข่งระยะทาง 100 เมตร ผู้ชนะใช้เวลาเพียง
10 วินาที
         5)    สมชายเดินทางจากบ้านไปตลาด ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือ
ของบ้าน ห่างจากบ้าน 1 กิโลเมตร
    1.  ข้อใดแสดงถึงปริมาณเวกเตอร์
         ก.   4) และ 5)                     ข.   3) และ 4)
         ค.   1) และ 5)                     ง.    1) และ 2)
    2.  ข้อใดแสดงถึงปริมาณสเกลาร์
         ก.   2) และ 4)                     ข.  1), 2) และ 5)
         ค.   1) และ 5)                     ง.    2), 3) และ 4)
    3.  ข้อมูลในตารางบันทึกผลการแล่นของรถยนต์คันหนึ่ง
เวลา (วินาที)
0
1
2
3
4
5
ระยะทาง (เมตร)
0
20
40
60
80
100
         ข้อความใดกล่าวถูกต้อง
         ก.   รถยนต์แล่นด้วยอัตราเร็วคงที่ 20 เมตรต่อวินาที
         ข.   รถยนต์แล่นด้วยอัตราเร็วคงที่ 10 เมตรต่อวินาที
         ค.   รถยนต์แล่นด้วยความเร่ง
         ง.    รถยนต์จอดอยู่
    4.  รถไฟขบวนหนึ่งกำลังแล่นจากกรุงเทพฯ ไปทิศเหนือสู่จังหวัดพิษณุโลกซึ่งมีระยะทาง 360 กิโลเมตร
ข้อความที่ขีดเส้นใต้เป็นปริมาณชนิดใด
         ก.   การเปลี่ยนทิศทาง      ข.   การเคลื่อนที่
         ค.   เวกเตอร์                      ง.   สเกลาร์
    5เด็กคนหนึ่งวิ่งระยะทาง 60 เมตร ใช้เวลา 12 วินาที
อัตราเร็วของเด็กคนนี้มีค่าเท่าใด
         ก.   10 เมตรต่อวินาที               ข.  5 เมตรต่อวินาที
         ค.   1 เมตรต่อวินาที                ง.  0.2 เมตรต่อวินาที
6. จากข้อ 5. ถ้าเด็กคนนี้วิ่งต่อไปด้วยอัตราเร็วเท่าเดิม
         จนถึงปลายทาง รวมเวลาที่ใช้ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปลายทางทั้งหมด 40 วินาที ดังนั้นระยะทางตั้งแต่ต้น
ถึงปลายทางยาวเท่าใด
         ก.   480 เมตร                     ข.   400 เมตร
         ค.   240 เมตร                     ง.   200 เมตร
    7.  หน่วยวัดความเร็วในทางฟิสิกส์ คือข้อใด
1)    เมตรต่อวินาที             2)   กิโลเมตรต่อวินาที
3)    ไมล์ต่อชั่วโมง            4)   กิโลเมตรต่อชั่วโมง
         ก.   1) และ 4)                     ข.   3) และ 4)    
         ค.   2) และ 3)                     ง.   1) และ 2)
    8.  ข้อความใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับแรง
         ก.   แรงทำให้วัตถุเปลี่ยนแปลงรูปร่าง
         ข.   แรงทำให้วัตถุเปลี่ยนสถานะ
         ค.   แรงทำให้วัตถุเคลื่อนที่
         ง.    แรงทำให้วัตถุหยุดนิ่ง
    9.  หน่วยที่ใช้วัดแรง คือข้อใด
         ก.   นิวตัน-เมตร                ข.   กิโลกรัม
         ค.   นิวตัน                          ง.   กรัม
  10.  ความเร็ว มีความหมายตรงกับข้อใด
         ก.   รถยนต์คันนี้แล่นไปทางทิศเหนือด้วยความเร็ว
                80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
         ข.   รถยนต์คันหนึ่งแล่นด้วยความเร็ว 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
         ค.   รถจักรยานยนต์คันนี้แล่นด้วยความเร็วสูงมาก
         ง.    รถประจำทางคันนี้แล่นช้ามาก

หน่วยการเรียนรู้ที่ 8
พลังงานความร้อน(1)
คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. เทอร์มอมิเตอร์ชนิดเซลเซียส วัดอุณหภูมิของสารพบว่า
เปลี่ยนแปลงจากเดิม 20 องศา ถ้าใช้เทอร์มอมิเตอร์
ชนิดเคลวิน จะเปลี่ยนแปลงเท่าใด
         ก.   293                               ข.   20
         ค.   10                                 ง.   0
    2.  วัตถุ 3 ชนิด มีอุณหภูมิต่างๆ กัน ดังตาราง
วัตถุ
อุณหภูมิ
A
35  C
B
68  F
C
24  R
         ถ้าเรียงลำดับวัตถุจากอุณหภูมิต่ำสุดไปหาอุณหภูมิสูงสุด
         ข้อใดถูกต้อง
         ก.  
C B A                           ข.   B C A
         ค.   A C B                           ง.   A B C
    3.  จังหวัดนครนายก วัดอุณหภูมิได้ 77 องศาฟาเรนไฮต์
         ถ้าใช้หน่วยเป็นองศาเซลเซียส จะมีค่าเท่าใด             
         ก.   77                                 ข.  40
         ค.   25                                 ง.    5
    4.  อุณหภูมิของวัตถุชนิดหนึ่งมีค่า 30 องศาเซลเซียส
เท่ากับกี่องศาฟาเรนไฮต์
         ก.   108                               ข.   96
         ค.   86                                 ง.   54
    5.  ถ้าเราใช้ช้อนเหล็กตักแกงจืดที่กำลังร้อน แล้วรู้สึกว่า
ด้ามช้อนนั้นร้อน แสดงว่ามีการถ่ายโอนความร้อน
โดยวิธีใด
         ก.   การแผ่รังสีความร้อน    
ข.   การนำความร้อน
         ค.   การพาความร้อน           
         ง.    ถูกทั้งข้อ ข และ ค
6. สารในข้อใดเป็นตัวนำความร้อนที่ดี
         1)    ไม้                      2)   เหล็ก                 3)   ขนนก
         4)    ทองแดง             5)   พลาสติก           6)   อะลูมิเนียม
         ก.   4), 5) และ 6)                ข.  2), 4) และ 6)
         ค.   3), 4) และ 5)                ง.    1), 2) และ 3)
    7.  เมื่อเอามือไปแตะถ้วยกาแฟร้อน เราจะรู้สึกร้อน
เพราะเหตุใด
         ก.   ความร้อนจากกาแฟมาถึงมือโดยการนำความร้อน
ของถ้วยกาแฟ
         ข.   ความร้อนจากกาแฟมาถึงมือโดยการพาความร้อน
ของอากาศ
         ค.   วัตถุที่ใช้ทำถ้วยกาแฟเป็นตัวนำความร้อนที่ดี
         ง.    ความร้อนจากกาแฟแผ่รังสีผ่านถ้วยมาถึงมือ
    8ข้อใดเป็นการนำความรู้เรื่อง การพาความร้อน ไปใช้
ประโยชน์

ก.   การเลือกใช้ภาชนะแก้วใส่อาหารร้อน
         ข.   การใช้แผ่นอะลูมิเนียมห่ออาหาร
         ค.   การสร้างบ้านทรงไทยยกพื้นสูง
         ง.    สวมเสื้อผ้าขนสัตว์ในฤดูหนาว
    9.  ข้อใดเกิดจากการพาความร้อน
         ก.   เมื่อถือแท่งเหล็กยื่นเข้าไปในเปลวไฟจะรู้สึกร้อนที่มือ
         ข.   ความร้อนจากดวงอาทิตย์เดินทางถึงผิวโลก     
         ค.   เมื่อเราเอามือเข้าใกล้หลอดไฟจะรู้สึกร้อน        
ง.    การเกิดลมบก ลมทะเล
  10.  ความร้อนจากดวงอาทิตย์ส่งมาถึงโลกได้โดยวิธีใด
         ก.   การนำความร้อนและการแผ่รังสีความร้อน       
         ข.   การแผ่รังสีความร้อน
         ค.   การพาความร้อน       
         ง.    การนำความร้อน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 9
พลังงานความร้อน(2)
คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. กระบวนการใด เป็นการคายความร้อน
         ก.   น้ำแข็งกลายเป็นไอน้ำ
         ข.   น้ำเปลี่ยนเป็นน้ำแข็ง
         ค.   น้ำแข็งเปลี่ยนเป็นน้ำ
         ง.    น้ำเปลี่ยนเป็นไอน้ำ
    2.  เมื่อเทน้ำเดือดลงในภาชนะที่ทำจากแก้ว เพราะเหตุใด
         แก้วจึงแตกร้าว
         ก.   ด้านในของภาชนะขยายตัวขณะที่ด้านนอก
                ไม่เปลี่ยนแปลง
         ข.   เกิดการขยายตัวของภาชนะทั้งด้านในและด้านนอก
         ค.   เกิดการหดตัวของภาชนะทั้งด้านในและด้านนอก
         ง.    แรงดันของไอน้ำทำให้ภาชนะแตกร้าว
    3.  ข้อใดเรียงลำดับความสามารถในการขยายตัวของสารตามสถานะได้ถูกต้อง
         ก.   ไอน้ำ ® น้ำแข็ง ® น้ำ
         ข.   น้ำ ® ไอน้ำ ® น้ำแข็ง
         ค.   ไอน้ำ ® น้ำ ® น้ำแข็ง
         ง.    น้ำแข็ง ® น้ำ ® ไอน้ำ
    4.  รถยนต์ที่วิ่งนานๆ บนถนนที่ร้อนจัด ยางมักจะระเบิดเนื่องจากสาเหตุใด
         ก.   การขยายตัวของอากาศในยาง
         ข.   การหลอมเหลวของเนื้อยาง
         ค.   การขยายตัวของเนื้อยาง
         ง.    การแข็งตัวของเนื้อยาง
    5.  อุปกรณ์ใดต่อไปนี้ ใช้หลักการขยายตัวของวัตถุเมื่อได้รับความร้อน
         ก.   เครื่องเตือนไฟไหม้          ข.   ถ่านไฟฉาย
         ค.   มอเตอร์ไฟฟ้า             ง.   สวิตช์ไฟฟ้า
6. เมื่อวางแก้วที่มีน้ำชาร้อนทิ้งไว้สักครู่ ปรากฏว่าน้ำชา     ในแก้วมีอุณหภูมิเท่ากับอากาศ เหตุการณ์นี้เกี่ยวข้อง        กับเรื่องใด
         ก.   การดูดกลืนความร้อน      ข.   การพาความร้อน
         ค.   การนำความร้อน               ง.    สมดุลความร้อน
    7.  ถ้านักเรียนมีนมร้อนอยู่ในถ้วยแก้ว ต้องการทำให้เย็นโดยเร็วที่สุด นักเรียนจะทำอย่างไร
         ก.   ตั้งไว้นอกห้องที่มีลมพัด
         ข.   เป่าด้วยพัดลม
         ค.   แช่ในน้ำเย็น
         ง.    แช่ในน้ำแข็ง
    8.  เพราะเหตุใด เมื่อสวมเสื้อสีดำไปยืนกลางแดด จะรู้สึกร้อนมากกว่าเมื่อสวมเสื้อสีขาว
         ก.   ไม่ว่าเสื้อสีดำหรือสีขาว ถ้าไปอยู่กลางแดดจะร้อน       เท่าๆ กัน
         ข.   เสื้อสีดำดูดกลืนพลังงานความร้อนได้ดีกว่าเสื้อสีขาว
         ค.   เสื้อสีขาวดูดซับเหงื่อได้ดีกว่าเสื้อสีดำ
         ง.    ผ้าสีดำมีความหนามากกว่าผ้าสีขาว
    9.  บริเวณด้านล่างของภาชนะหุงต้มอาหาร ควรเคลือบด้วยสารสีใด จึงจะทำให้ภาชนะร้อนได้เร็ว
         ก.   สีแดง                                  ข.   สีเงิน
         ค.   สีดำ                                    ง.   สีขาว
  10.  เมื่อให้พลังงานความร้อนแก่น้ำจนกลายเป็นไอ
         การเคลื่อนที่ของโมเลกุลของน้ำจะเป็นอย่างไร
         ก.   เคลื่อนที่เร็วและเป็นอิสระ
         ข.   เคลื่อนที่เข้าหากัน
         ค.   จับตัวกันแน่นขึ้น
         ง.    เคลื่อนที่ช้าลง

หน่วยการเรียนรู้ที่ 10
องค์ประกอบและการแบ่งชั้นบรรยากาศ
คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. ถ้าโลกไม่มีบรรยากาศห่อหุ้ม อุณหภูมิในช่วงกลางวัน
         และช่วงกลางคืน จะเป็นอย่างไร
         ก.   อุณหภูมิช่วงกลางวันต่ำมาก อุณหภูมิช่วงกลางคืน
                สูงมาก
         ข.   อุณหภูมิช่วงกลางวันสูงมาก อุณหภูมิช่วงกลางคืน
                ต่ำมาก
         ค.   อุณหภูมิช่วงกลางวันและกลางคืนมีค่าเท่ากันและคงที่
         ง.    ยังสรุปแน่นอนไม่ได้
    2.  มนุษย์อาศัยอยู่ในบรรยากาศชั้นใด
         ก.   เทอร์โมสเฟียร์            ข.   สตราโตสเฟียร์
         ค.   โทรโพสเฟียร์             ง.   มีโซสเฟียร์
    3.  เพราะเหตุใด บรรยากาศชั้นเทอร์โมสเฟียร์ จึงสามารถสะท้อนคลื่นวิทยุได้
         ก.   โมเลกุลของแก๊สแตกตัวเป็นไอออนและมีประจุไฟฟ้า
         ข.   มีแก๊สโอโซนหนาแน่น
         ค.   มีไอน้ำอยู่หนาแน่น
         ง.    มีอุณหภูมิสูงมาก
    4.  แก๊สโอโซนมีอยู่มากในบรรยากาศชั้นใด
         ก.   เทอร์โมสเฟียร์            ข.   สตราโตสเฟียร์
         ค.   โทรโพสเฟียร์             ง.   มีโซสเฟียร์
    5.  เพราะเหตุใด เครื่องบินจึงมักบินในบรรยากาศ
         ชั้นสตราโตสเฟียร์
         ก.   บรรยากาศชั้นนี้มีความหนาแน่นของอากาศและ
                ไอน้ำมากที่สุด
         ข.   บรรยากาศชั้นนี้สามารถสะท้อนคลื่นวิทยุที่มีความถี่       ไม่มากได้
         ค.   บรรยากาศชั้นนี้ประกอบด้วยแก๊สที่มีน้ำหนักเบา
         ง.    บรรยากาศชั้นนี้ไม่มีไอน้ำ อากาศไม่แปรปรวน
6. บรรยากาศชั้นใดที่มีปรากฏการณ์ทางอุตุนิยมวิทยา   มากที่สุด
         ก.   เทอร์โมสเฟียร์            ข.   สตราโตสเฟียร์
         ค.   โทรโพสเฟียร์             ง.   มีโซสเฟียร์
    7.  แก๊สชนิดใดที่พบเป็นส่วนประกอบของอากาศแห้ง
         มากที่สุด
         ก.   แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
         ข.   แก๊สไนโตรเจน
         ค.   แก๊สออกซิเจน
         ง.    แก๊สอาร์กอน
    8.  สาเหตุหนึ่งที่ทำให้อุณหภูมิบนโลกสูงขึ้น คือ แก๊สโอโซนในชั้นบรรยากาศถูกทำลายจนเกิดรูโหว่ รังสีอัลตรา          ไวโอเลตจากดวงอาทิตย์จึงผ่านมายังพื้นผิวโลกมากขึ้น จากข้อความดังกล่าวแสดงว่าชั้นบรรยากาศใดถูกทำลาย
         ก.   สตราโตสเฟียร์           ข.   โทรโพสเฟียร์
         ค.   เอกโซเฟียร์                 ง.   มีโซสเฟียร์
    9.  ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของบรรยากาศ
         ก.   ช่วยให้โลกเย็นลงอย่างรวดเร็วในช่วงกลางคืน
         ข.   ช่วยให้โลกร้อนขึ้นอย่างช้าๆ ในช่วงกลางวัน
         ค.   ช่วยป้องกันอันตรายจากสะเก็ดดาว
         ง.    ช่วยดูดซับรังสีอัลตราไวโอเลต
  10.  เป็นชั้นบรรยากาศที่สูงจากพื้นโลก 16-17 กิโลเมตร      มีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตเพราะมีองค์ประกอบที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิต ข้อความข้างต้นเป็นสมบัติของบรรยากาศชั้นใด
         ก.   เทอร์โมสเฟียร์            ข.   สตราโตสเฟียร์
         ค.   โทรโพสเฟียร์     ง.     มีโซสเฟียร์

หน่วยการเรียนรู้ที่ 11
อุณหภูมิ  ความชื้นและความกดอากาศ
คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. เมื่อนักเรียนนั่งรถขึ้นบนภูเขาสูงจะรู้สึกหูอื้อ เนื่องจากสาเหตุใด
         ก.   ปริมาณไอน้ำในอากาศมีมาก               
         ข.   อุณหภูมิของอากาศเพิ่มขึ้น
         ค.   ความชื้นในอากาศมากขึ้น   
         ง.    ความดันอากาศลดลง
    2.  อากาศที่มีความชื้นสัมพัทธ์ 100 % มีผลตามข้อใด
         ก.   ตากผ้าแห้งเร็ว ร่างกายรู้สึกอึดอัด และเหนียวตัว
         ข.   ตากผ้าแห้งช้า ร่างกายรู้สึกอึดอัด และเหนียวตัว
         ค.   ตากผ้าแห้งเร็ว ร่างกายรู้สึกเย็นสบาย
         ง.    ตากผ้าแห้งช้า ร่างกายรู้สึกเย็นสบาย
    3.  เพราะเหตุใด อากาศจึงดันน้ำในบารอมิเตอร์น้ำได้สูงกว่าปรอทในบารอมิเตอร์ปรอท
         ก.   น้ำมีความหนาแน่นน้อยกว่าปรอท
         ข.   น้ำมีความหนาแน่นมากกว่าปรอท
         ค.   น้ำมีน้ำหนักมากกว่าปรอท
         ง.    น้ำระเหยได้ง่ายกว่า
    4.  เพราะเหตุใด อุณหภูมิของอากาศบนยอดเขาจึงเย็นกว่า
อุณหภูมิของอากาศบริเวณเชิงเขา
         ก.   บนยอดเขามีความหนาแน่นน้อยกว่าเชิงเขา
       จึงดูดความร้อนได้น้อยกว่า
         ข.   บนยอดเขามีความหนาแน่นมากกว่าเชิงเขา
       จึงดูดความร้อนได้น้อยกว่า
         ค.   บนยอดเขาไม่มีต้นไม้บังลม ลมจึงพัดได้แรง
         ง.    บนยอดเขามีลมพัดแรงกว่าเชิงเขา
    5.  อุปกรณ์ในข้อใดไม่ใช้หลักแรงดันอากาศ
         ก.   การสูบหมึกเข้าในปากกาหมึกซึม                       
         ข.   แผ่นสติ๊กเกอร์ติดกระจก
         ค.   ตุ๊กตาติดกระจก
         ง.    หลอดฉีดยา
6. เครื่องมือที่ใช้วัดอุณหภูมิของอากาศ คืออะไร
         ก.   เทอร์มอมิเตอร์           ข.   ไฮกรอมิเตอร์
         ค.   บารอกราฟ                  ง.   บารอปรอท
    7วัดความดันอากาศที่ยอดดอยอินทนนท์ได้
         260 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งยอดเขาใหญ่วัดความสูงได้   2,000 เมตร ดังนั้นยอดดอยอินทนนท์มีความสูงต่างจากยอดเขาใหญ่กี่เมตร
         ก.   5,500 เมตร                  ข.   3,500 เมตร
         ค.   2,260 เมตร                  ง.   2,060 เมตร
    8ที่ยอดเขาแห่งหนึ่งวัดความกดของอากาศได้  660 มิลลิเมตรปรอท ยอดเขาสูงจากระดับน้ำทะเลกี่เมตร
         ก.   2,000 เมตร                  ข.   1,100 เมตร
         ค.   760 เมตร                     ง.   660 เมตร
    9.  ณ อุณหภูมิแห่งหนึ่ง อากาศอิ่มตัวด้วยไอน้ำจะมีค่าเท่ากับ 120 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร แต่มีไอน้ำอยู่จริงเพียง  60 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ดังนั้นมีค่าความชื้น สัมพัทธ์เท่าใด
         ก.   100 %                           ข.   60 %
         ค.   50 %                             ง.   40 %
  10.  ที่อุณหภูมิ 23 องศาเซลเซียส อากาศปริมาตร
         6 ลูกบาศก์เซนติเมตร มีไอน้ำอยู่ 24 กรัม จะมีค่า ความชื้นสัมบูรณ์เท่าใด
         ก.   7 g/m3                          ข.   6 g/m3
         ค.   5 g/m3                          ง.   4 g/m3


หน่วยการเรียนรู้ที่ 12
การเกิดเมฆ  ฝน  ลม  และพายุ
คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. เมฆสีดำก่อตัวในแนวตั้งหนาทึบมียอดเป็นรูปทั่ง แสดงว่าจะเกิดเหตุการณ์ใด
         ก.   เกิดปรากฏการณ์พระอาทิตย์ทรงกลด
         ข.   มีหมอกลงจัดและกำลังมีหิมะตก
         ค.   กำลังมีพายุฝนฟ้าคะนอง
         ง.    กำลังมีฝนตกปอยๆ
    2.  การวัดปริมาณน้ำฝนที่ตกในแต่ละครั้งมีหน่วยวัดอย่างไร
         ก.   กรัมต่อลูกบาศก์เมตร
         ข.   ลูกบาศก์เซนติเมตร
         ค.   มิลลิเมตร
         ง.    มิลลิลิตร
    3.  ลักษณะของเมฆฝนเป็นอย่างไร
         ก.   มีลักษณะเป็นแผ่นบางๆ เกิดในระดับสูง
         ข.   มีลักษณะคล้ายสำลีหรือดอกกะหล่ำ
         ค.   เป็นแผ่นหนาสีดำมืด ขนาดใหญ่
         ง.    มีลักษณะคล้ายระลอกคลื่นสีขาว
    4.  เพราะเหตุใด ในวันที่มีเมฆปกคลุมท้องฟ้าจึงมีอุณหภูมิของอากาศต่ำกว่าวันที่ท้องฟ้าโปร่ง
         ก.   เมฆช่วยระบายความร้อนออกจากโลกได้ ทำให้       อุณหภูมิของโลกไม่ร้อนเกินไป
         ข.   ในเมฆมีแก๊สบางชนิดที่ช่วยลดความร้อน
                จากดวงอาทิตย์
         ค.   หยดน้ำในเมฆช่วยดูดกลืนรังสีความร้อนไว้บางส่วน
         ง.    ไอน้ำในเมฆช่วยลดความร้อนจากดวงอาทิตย์
    5.  ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดจากประเทศจีนมายังประเทศไทยในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์นั้น เกิดจากสาเหตุใด
         ก.   ประเทศจีนเป็นบริเวณความกดอากาศต่ำ
                ส่วนประเทศไทยเป็นบริเวณความกดอากาศสูง
         ข.   ประเทศจีนมีอุณหภูมิต่ำ ส่วนประเทศไทยมีอุณหภูมิสูง
         ค.   ประเทศจีนมีอุณหภูมิสูง ส่วนประเทศไทยมีอุณหภูมิต่ำ
         ง.    เนื่องจากทั้งสองประเทศมีความกดอากาศเท่ากัน
6. อุปกรณ์ในข้อใดต่อไปนี้ใช้วัดเกี่ยวกับลม
         ก.   แอลติมิเตอร์               ข.   บารอกราฟ
         ค.   แอนิรอยด์                   ง.   แอโรเวน
    7.  ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับลม
         ก.   ลมพัดจากบริเวณความกดอากาศสูงไปสู่บริเวณ
                ความกดอากาศต่ำ
         ข.   ลมพัดจากบริเวณความกดอากาศต่ำไปสู่บริเวณ
                ความกดอากาศสูง
         ค.   ลมพัดโดยไม่มีทิศทางแน่นอนขึ้นอยู่กับมวลอากาศ
         ง.    ลมพัดจากทะเลเข้าหาฝั่งเสมอไป
    8.  ลมทะเลเกิดในเวลาใด และพัดจากที่ใดไปยังที่ใด
         ก.   กลางคืน พัดจากฝั่งเข้าหาทะเล
         ข.   กลางคืน พัดจากทะเลเข้าหาฝั่ง
         ค.   กลางวัน พัดจากฝั่งเข้าหาทะเล
         ง.    กลางวัน พัดจากทะเลเข้าหาฝั่ง
    9.  ข่าวอากาศจากสถานีโทรทัศน์รายงานว่า พายุเฮอริเคน พัดเข้าฝั่งด้วยความเร็วมากกว่า 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำให้เกิดน้ำท่วมบ้านเรือนเสียหายและมีผู้เสียชีวิต       หลายสิบคน แสดงว่า พายุนี้เกิดขึ้นที่ใด
         ก.   มหาสมุทรอินเดีย       ข.   ทวีปออสเตรเลีย
         ค.   ทะเลจีนใต้                  ง.   อ่าวเม็กซิโก
  10.  พายุที่พัดผ่านประเทศกัมพูชามีความเร็วสูงสุดใกล้เส้นศูนย์กลาง 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แสดงว่าเป็นลมพายุประเภทใด
         ก.   พายุทอร์นาโด            ข.   พายุดีเปรสชัน
         ค.   พายุโซนร้อน              ง.   พายุไต้ฝุ่น


หน่วยการเรียนรู้ที่ 13
การพยากรณ์อากาศและการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของโลก
คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. จากพยากรณ์อากาศ ประเทศไทยมีความกดอากาศต่ำ แสดงว่าอากาศบริเวณประเทศไทยเป็นอย่างไร
         ก.   เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง
         ข.   อากาศสงบเงียบ
         ค.   มีอุณหภูมิสูง
         ง.    มีอุณหภูมิต่ำ
    2.  การทำนายสภาพอากาศล่วงหน้า มีความหมายว่าอย่างไร
         ก.   การวัดอุณหภูมิของอากาศ
         ข.   การตรวจสอบสภาพอากาศ
         ค.   การพยากรณ์อากาศ
         ง.    การวัดทัศนวิสัย
    3.  การพยากรณ์ใดเป็นการเตือนภัยให้กับประชาชนได้ดีที่สุด
         ก.   การบอกอุณหภูมิสูงสุดและต่ำสุดในรอบวัน
         ข.   การบอกให้ทราบล่วงหน้าเกี่ยวกับสึนามิ
         ค.   การบอกเวลาขึ้นและตกของดวงอาทิตย์
         ง.    การบอกปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยใน 1 ปี
    4.  ในการพยากรณ์อากาศต้องอาศัยข้อมูลจากแหล่งใด
         มากที่สุด
         ก.   เมฆ ความเร็วลม และปริมาณน้ำฝน
         ข.   เครื่องมือวัดสภาพอากาศ
         ค.   อุณหภูมิของอากาศ
         ง.    แผนที่อากาศ
    5.  เพราะเหตุใด การตัดไม้ทำลายป่าจึงทำให้เกิด
         ภาวะโลกร้อน
         ก.   ต้นไม้ช่วยดูดแก๊สคาร์บอนมอนนอกไซด์ ซึ่งเป็นแก๊ส       เรือนกระจก
         ข.   การคายน้ำของต้นไม้ช่วยลดอุณหภูมิของโลก
         ค.   ต้นไม้ทำให้เกิดความชุ่มชื้น และฝนตก
         ง.    ต้นไม้ช่วยดูดซับความร้อนของโลก
6. การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของโลกเกิดจากสาเหตุใด
         มากที่สุด
         ก.   กิจกรรมของมนุษย์    ข.   แผ่นดินไหว
         ค.   อุทกภัย                        ง.   วาตภัย
    7.  สาร CFCS ส่งผลต่อบรรยากาศระดับพื้นดินอย่างไร
         ก.   ทำให้ปริมาณแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ในอากาศ
                มากขึ้น
         ข.   ทำให้ปริมาณแก๊สออกซิเจนในอากาศลดลง
         ค.   ทำให้รังสีอัลตราไวโอเลตเพิ่มมากขึ้น
         ง.    ทำให้รังสีอัลตราไวโอเลตลดลง
    8.  แก๊สโอโซนมีบทบาทต่อสิ่งมีชีวิตบนโลกอย่างไร
         ก.   ช่วยในการดูดซับความร้อนจากพื้นผิวโลกไม่ให้       กระจายออกสู่ชั้นบรรยากาศ
         ข.   ดูดกลืนรังสีที่เป็นอันตรายไม่ให้ผ่านชั้นบรรยากาศ
                ลงมาถึงพื้นผิวโลก
         ค.   ใช้ในกระบวนการหายใจแทนแก๊สออกซิเจนได้
         ง.    ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก
    9.  เพราะเหตุใด ปรากฏการณ์เรือนกระจกจึงมีผลต่อสิ่งมีชีวิต
         ก.   สิ่งมีชีวิตบางชนิดหยุดเจริญเติบโตเพราะขาดแสงแดด
         ข.   ปริมาณแก๊สไนโตรเจนเพิ่มมากขึ้น
         ค.   สิ่งมีชีวิตได้รับรังสีที่เป็นอันตราย
         ง.    ปริมาณแก๊สออกซิเจนลดลง
  10.  การกระทำตามข้อใด เป็นการช่วยลดปัญหาโลกร้อน
         1)    นำขยะมารีไซเคิล
         2)    ลดการใช้ถุงพลาสติก
         3)    ปิดไฟทุกดวงเมื่อเลิกใช้
         ก.   1), 2) และ 3)                ข.   3)
         ค.   2)                                ง.   1)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น