วิทยาศาสตร์ชีวภาพ


หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
สิ่งมีชีวิตในสิ่งแวดล้อม
คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. ไบโอมประเภทใดจัดอยู่ในเขตร้อน
    1. ไบโอมไทกา                  2. ไบโอมป่าฝน             
    3. ไบโอมทุนดรา               4. ไบโอมป่าผลัดใบ
    5. ไบโอมทะเลทราย
2. ไบโอมประเภทใดมักเกิดไฟป่าเป็นประจำ
    1. ไบโอมทะเลทราย           2. ไบโอมป่าผลัดใบ
    2. ไบโอมป่าฝนเขตร้อน      4. ไบโอมทุ่งหญ้าเขตร้อน
    5. ไบโอมทุ่งกญ้าเขตอบอุ่น
3. ไบโอมประเภทใดมีความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตสูงที่สุด
    1. ไบโอมทุนดรา               2. ไบโอมทะเลทราย
    3. ไบโอมป่าผลัดใบ           4. ไบโอมป่าฝนเขตร้อน     
    5. ไบโอมทุ่งหญ้าเขตร้อน
4. สิ่งมีชีวิตกลุ่มแรกที่เข้ามาเจริญในพื้นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบปฐมภูมิ คือสิ่งมีชีวิตกลุ่มใด
    1. หญ้า                           2. มอส
    3. ไลเคน                        4. ไม้ยืนต้น
    5. ไม้ล้มลุก
5. ข้อใดต่อไปนี้ไม่จัดเป็นการเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบทุติยภูมิ
    1. การเกิดไฟป่า
    2. การแผ้วถางป่า
    3. การทำไร่เลื่อนลอย
    4. การเจริญของไลเคนบนก้อนหิน
    5. การเจริญของหญ้าหลังการระเบิดของภูเขาไฟ
6. ข้อใดเป็นการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตต่อการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยทางกายภาพ
    1. หมีขั้วโลกจะจำศีลในฤดูหนาว                  
    2. หนูแกงการูจะจำศีลในเวลากลางวัน 
7. ข้อใดเป็นคุณสมบัติของสิ่งมีชีวิตกลุ่มผู้ย่อยสลาย
1. สามารถสร้างเอนไซม์ได้
2. สามารถสร้างอาหารได้เอง
3. สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้
4. สามารถกินสิ่งมีชีวิตทั้งพื้ชและสัตว์ได้
5. สามารถเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานเคมี
8. หากผู้บริโภคขั้นที่ 3 ได้รับพลังงานจากการกินต่อกันจำนวน 1 kcal ผู้บริโภคขั้นแรกจะได้รับพลังงานจากผู้ผลิตเท่าใด
1. 1 kcal                               
2. 10 kcal
3. 100 kcal                           
4. 1,000 kcal
5. 10,000 kcal
9. ทรัพยากรธรรมชาติข้อใดควรใช้อย่างประหยัดมากที่สุด
1. น้ำ                                    
2. ป่าไม้
3. อากาศ                               
4. แสงแดด
5. แก๊สธรรมชาติ
10. ปัญหาภาวะโลกร้อนเกิดจากสาเหตุใด
1. ชั้นโอโซนเบาบางลง
2. การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิทั่วโลก                          
3. การเกิดภัยพิบัติที่รุนแรงและบ่อยขึ้น
4.รังสีอินฟาเรดทะลุผ่านชั้นบรรยากาศมายังโลกมากขึ้น
5. แก๊สเรือนกระจกลดลงทำให้รังสีความร้อนมายังโลกเพิ่มขึ้น


หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
สิ่งมีชีวิตในสิ่งแวดล้อม
คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. ข้อใดไม่ใช่ความหมายของเซลล์
    1. องค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต
    2. หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
    3. หน่วยที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิต
    4. โครงสร้างขนาดเล็กของสิ่งมีชีวิต
    5. โครงสร้างขนาดเล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิต
2. ออร์แกเนลล์ในใดไม่พบในเซลล์สัตว์
    1. แวคิวโอล  
    2. เซนทริโอล                    
    3. คลอโรพลาสต์            
    4. ไมโทคอนเดรีย                                          
    5. เอนโดพลาสมิกเรติคูลัม
3. โครงสร้างใดเป็นองค์ประกอบหลักของเยื่อหุ้มเซลล์
    1. ลิพิด    
    2. โปรตีน                                                      
    3. ไกลโคลลิพิด      
    4. คอเลสเตอรอล
    5. ไกลโคลโปรตีน
4. ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติของเยื่อหุ้มเซลล์
    1. สร้างความแข็งแรงให้แก่เซลล์
    2. ยอมให้สารบางชนิดผ่านเท่านั้น
    3. ควบคุมแรงดันและปริมาณสารภายในเซลล์
    4. มีลิพิดเป็นส่วนประกอบหลักเรียงตัวกัน 2 ชั้น
    5. ควบคุมการผ่านเข้า-ออกของสารระหว่างเซลล์
5. ข้อใดเป็นบทบาทสำคัญของนิวเคลียส
    1. สังเคราะห์โปรตีน
    2. สะสมสารภายในเซลล์
    3. ขนส่งสารออกนอกเซลล์
    4. ควบคุมการผ่านเข้าออกของสาร
    5. ถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต
6. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถึงการแพร่ได้ถูกต้อง
1. มีอัตราเร็วกว่าการแพร่แบบฟาซิลิเทต
2. การเคลื่อนที่ของอนุภาคสารผ่านโปรตีนบนเยื่อหุ้มเซลล์
3.ที่ภาวะสมดุลของการแพร่จะยังมีการเคลื่อนที่ของอนุภาคสาร
4.อนุภาคสารจะเคลื่อนที่ไปทุกทิศทางแบบไม่มีทิศทางที่แน่นอน
5.การเคลื่อนที่ของอนุภาคสารจากบริเวณที่มีความเข้มข้นต่ำไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นสูง

7. ข้อใดเป็นการลำเลียงสารแบบการแพร่แบบฟาซิลิเทต
1. การลำเลียงโพแทสเซียมไอออนเข้าเซลล์
2. การลำเลียงน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่เซลล์เม็ดเลือดแดง
3. การลำเลียงแก๊สออกซิเจนจากถุงลมสู่เซลล์เม็ดเลือดแดง
4. การลำเลียงฮอร์โมนอินซูลินจากเซลล์ตับอ่อนเข้ากระแสเลือด
5. การลำเลียงคาร์บอนไดออกไซด์จากเซลล์เม็ดเลือดแดงสู่ถุงลม
8.ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการลำเลียงแบบแอกทีฟทรานสปอร์ต
1. เกิดขึ้นเฉพาะเซลล์ที่ยังมีชีวิต
2. ลำเลียงสารผ่านชั้นลิพิดของเยื่อหุ้มเซลล์
3. มักพบไมโทคอนเดรียจำนวนมากในเซลล์
4.ต้องอาศัยพลังงานจากการเผาผลาญสารพลังงานสูงในเซลล์
5.การลำเลียงสารจากบริเวณที่มีความเข้มข้นต่ำไปสู่บริเวณที่มีความเข้มข้นสูง
9. ข้อใดต่อไปนี้ไม่สัมพันธ์กัน
    1. การกำจัดของเสียของอะมีบาเป็นการลำเลียงสารแบบเอนโดไซโทซิส
  2. การทำลายเชื้อโรคของเซลล์เม็ดเลือดขาวกับการลำเลียงแบบเอนโดไซโทซิส
   3. การหลั่งเอนไซม์เปปซินสู่กระเพาะอาหารเป็นการลำเลียงแบบเอกโซไซโทซิส
 4.การลำเลียงอินซูลินจากตับอ่อนสู่กระแสเลือดเป็นการลำเลียงแบบเอกโซไซโทซิส
 5.การลําเลียงสารเข้าสู่เซลล์ของท่อหน่วยไตเป็นการลำเลียงแบบเอนโซไซโทซิส
10.สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวชนิดหนึ่งกินอาหารประเภทโปรตีน ใช้แก๊สออกซิเจนในการหายใจ และกำจัดของเสียในรูปของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวนี้จะมีการลำเลียงสารแต่ละชนิดอย่างไร (เรียงลำดับจากการกินอาหาร การหายใจ การกำจัดของเสีย)
    1. การลำเลียงสารขนาดใหญ่ การแพร่ การแพร่
    2. การแพร่ การแพร่แบบฟาซิลิเทต การลำเลียงสารขนาดใหญ่
    3. การแพร่ การแพร่แบบฟาซิลิเทต การลำเลียงสารขนาดใหญ่
    4. การแพร่แบบฟาซิลิเทต การลำเลียงสารขนาดใหญ่ การแพร่
    5. การลำเลียงสารโมเลกุลใหญ่ การแพร่ การลำเลียงสารแบบใช้พลังงาน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
การดำรงชีวิตของมนุษย์
คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1.ส่วนประกอบใดของหน่วยไตทำหน้าที่ดูกกลับสารที่มีประโยชน์เข้าสู่หระแสเลือด
    1. ท่อรวม                          2. ท่อหน่วยไต
    3. โกลเมอรูรัส                  4. รีนัลอาร์เตอรี
    5. โบว์แมนส์แคปซูล
2. สารชนิดใดไม่สามารถกรองผ่านโกลเมอรูลัสได้
    1. น้ำ                              2. โปรตีน
    3. เกลือแร่                      4. กรดอะมิโน
    5. น้ำตาลกลูโคส
3.ฮอร์โมนชนิดใดทำหน้าที่กระตุ้น/ยับยั้งการดูดกลับน้ำที่ท่อหน่วยไต
    1. อินซูลิน                       2. อีสโทรเจน  
    3. เอนโดรฟีน                  4. แอนติไดยูเรติก               
    5. เทสโทสเทอโรน
4. หากในเลือดมีค่า pH สูง ร่างกายจะมีกลไกตอบสนองอย่างไร
    1. ขับ H+ ออกจากเลือด
    2. ขับ Na+ ออกจากเลือด
    3. หายใจออกเพื่อขับ CO2
    4. ขับ NH4+ ออกจากเลือด
    5. ดูดกลับ HCO3- เข้าสู่เลือด
5.เมื่ออุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติร่างกายมีการตอบสนองอย่างไร
    1. ลดอัตราเมแทบอลิซึม
    2. ขนลุกและเกิดอาหารหนาวสั้น
    3. เพิ่มการขยายจัวของหลอดเลือด
    4. ต่อมเหงื่อสร้างเหงื่อน้อยลงหรือไม่สร้างเลย
    5. เพิ่มการระเหยและพาความร้อนออกจากร่างกาย


6. สารในข้อใดไม่จัดเป็นการป้องกันโดยสารเคมีในร่างกาย
    1. เคราติน                             
    2. กรดไขมัน                           
    3. กรดแลคติก                      
    4. กรดไฮโดรคลอริก

    5. เอนไซม์ไลโซไซม์
7. เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดใดมีการทำลายเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมต่างจากข้ออื่น
    1. เบโซฟิล                            2. โมโนไซต์
    3. ลิมโฟไซต์                         4. นิวโทรฟิล
    5. อีโอซิโนฟิล                           
8. ข้อใดกล่าวถึงหน้าที่ของเซลล์เม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์ได้ถูกต้อง
    1. เซลล์บี : ควบคุมการทำงานของเซลล์ที
    2. เซลล์ทีผู้ช่วย : สร้างแอนติบอดีทำลายแอนติเจน
    3. เซลล์ทีผู้ช่วย : พัฒนาเป็นเซลล์เมมอรีที่จดจำเชื้อโรค
    4. เซลล์บี : พัฒนาเป็นเซลล์พลาสมาเพื่อสร้างแอนติเจน
 5. เซลล์ทีทำลายสิ่งแปลกปลอม : กระตุ้นเซลล์บีให้สร้างแอนติบอดี
9. เซลล์เป้าหมายของเชื้อไวรัส HIV คือเซลล์ใด
    1. เซลล์บี                              2. เซลล์ที
    3. เซลล์ประสาท                   4. เซลล์เม็ดเลือดขาว
    5. เซลล์เม็ดเลือดขาว                   
10. ข้อใดไม่จัดเป็นวิธีการป้องกันการติดเชื้อ HIV
    1. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมสำส่อนทางเพศ
    2. หลีกเลี่ยงการใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
    3. หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้อื่น
    4. หลีกเลี่ยงการตรวจเลือดทำการก่อนสมรส
    5. หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น


หน่วยการเรียนรู้ที่ 4
การดำรงชีวิตของพืช
คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. ข้อใดเป็นผลผลิตจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
    1. น้ำ
    2. โปรตีน
    3. เซลลูโลส
    4. น้ำตาลกลูโคส
    5. แก๊สคาร์บอนไดออกไซต์
2. คลอโรฟิลล์ทำหน้าที่ดูดกลืนพลังงานแสงสีต่าง ๆ ยกเว้นแสงสีใด
    1. ส้ม                           2. แดง
    3. ม่วง                          4. เขียว
    5. น้ำเงิน
3.  ข้อใดกล่าวถึงผลผลิตที่ได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสงไม่ถูกต้อง
    1. น้ำตาลกลูโคสถูกเปลี่ยนเป็นพลังงาน
    2. น้ำตาลกลูโคสถูกสลายแร่ธาตุให้แก่พืช
    3. แก๊สออกซิเจนถูกนำไปใช้ในกระบวนการหายใจ    
    4. แก๊สออกซิเจนถูกนำไปใช้ในการสลายสารอาหาร
    5. น้ำตาลกลูโคสถูกเปลี่ยนเป็นแป้งสะสมที่ใบ ลำต้น ราก
4. สารชนิดใดจัดเป็นสารประกอบทุติยภูมิ
    1.แป้ง                             2. เลซิทิน
    3. เซลลูโลส                    4. วานิลลิน
    5. อะซีโทเจนิน
5. น้ำมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชยกเว้นข้อใด
    1. รักษาอุณหภูมิในเซลล์ให้คงที่
    2. ลำเลียงสารต่าง ๆ ภายในเซลล์
    3. ช่วยทำให้เซลล์พืชมีรูปร่างเหลี่ยม
    4. เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาต่าง ๆ ในเซลล์
    5. วัตถุดิบในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
6. แร่ธาตุใดเป็นธาตุอาหารรองของพืช
1. คลอรีน                      2. แคลซียม                    
3. กำมะถัน                    4. ไนโตรเจน
5. แมกนีเซียม
7. ข้อใดแสดงความสัมพันธ์ถูกต้อง
1. เอทิลีน : ยับยั้งการสุกของผลไม้
2. ออกซิน : กระตุ้นการเจริญของตาข้าง                    
3. จิบเบอเรลลิน : ยับยั้งการงอกของเมล็ดและตาข้าง         
4. กรดแอบไซซิก : ควบคุมการปิดเปิดของปากใบในที่ไม่มีแสง
5. ไซโตไคนิน  : กระตุ้นการแบ่งและเปลี่ยนแปลงรุปร่างของเซลล์
8. ฮอร์โมนพืชกลุ่มใดทำหน้าที่ควบคุมการเปิดปิดของปากใบในที่มืด
1. ออกซิน                              2. เอทิลีน
3. ไซโตไคนิน                        4. กรดแอบไซซิก
5. จิบเบอเรลลิน
9. การงอกหลดอเรณูไปยังรังไข่ของพืช เป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าประเภทใด
1. น้ำ                               2. แสง
3. สารเคมี                        4. การสัมผัส
5. แรงโน้มถ่วงของโลก
10. การเคลื่อนไหวของพืชในข้อใดเป็นประเภทแนสติก     มูฟเมนต์
1. การบาน-หุบของดอกบัว
2. การเจริญของรากลงสู่ดิน
3. การชูใบของพืชเพื่อรับแสง
4. การเกี่ยวพันหลักของต้นตำลึง
5. การหันเข้าหาแสงแดดของดอกทานตะวัน


หน่วยการเรียนรู้ที่ 5
พันธุกรรม
คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. โครโมโซมพบอยู่ในส่วนใดของเซลล์
    1. ไรโบโซม                   
    2. นิวเคลียส
    3 ไซโทพลาซึม                
    4. เยื่อหุ้มเซลล์
    5. ร่างแหเอ็นโดพลาซึม
2.ไนโตรตีนัสเบสชนิดใดไม่พบในสายนิวคลีโอไทด์ของ   ดีเอ็นเอ
    1. เบสไทมีน                  
    2. เบสกวานีน
    3. เบสยูราซิล                 
    4. เบสอะดีนีน                
    5. เบสไซโทซีน
3. รหัสพันธุกรรม 5 รหัส ประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์เรียงต่อกันกี่ชนิด
    1. 3 ชนิด                        
    2. 5 ชนิด
    3. 10 ชนิด                      
    4. 15 ชนิด
    5. 25 ชนิด
4. ข้อใดต่อไปนี้สัมพันธ์กันถูกต้อง
  1. โรคนิ้วเกิน  :  ถ่ายทอดลักษณะทางโครโมโซมเพศ  
  2. โรคตาบอดสี ถ่ายทอดลักษณะทางโครโมโซมเพศ  
  3. โรคธาลัสซีเมีย ถ่ายทอดลักษณะทางโครโมโซมเพศ 
  4. โรคฮีโมฟีเลีย:ถ่ายทอดลักษณะทางโครโมโซมร่างกาย
  5. หมู่เลือระบบ ABO : ถ่ายทอดลักษณะทางโครโมโซมเพศ 
5. หากแม่เป็นโรคตาบอดสี แต่งงานกับพ่อตาปกติ ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้อง
    1. ลูกชายทุกคนตาปกติ
    2. ลูกชายทุกคนตาบอดสี
    3. ลูกสาวทุกคนตาบอดสี
    4. ลูกชายร้อยละ 50 ตาบอดสี
    5. ลูกสาวร้อยละ 50 ตาบอดสี

6. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษณะของหมู่เลือดระบบ ABO
1. มีแอลลีลควบคุม 2 แอลลีล
2. มีการแสดงออกในแต่ละเพศต่างกัน
3. มีการถ่ายทอดลักษณะทางโครโมโซมเพศ
4. แอลลีล i เป็นแอลลีลเด่น ส่วนแอลลีล IA และ IB เป็นแอล ลีลด้อย
5. แอลลีล IA และ IB เป็นแอลลีลเด่น ส่วนแอลลีล i เป็นแอล ลีลด้อย
7. กลุ่มอาการคริดูชาต์เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมคู่ใด อย่างไร
1. โครโมโซมคู่ที่ 5 มีแขนสั้นกว่าปกติ
2. โครโมโซมคู่ที่ 13 มีแขนสั้นกว่าปกติ
3. โครโมโซมคู่ที่ 5 มีจำนวนเกินมา 1 โครโมโซม
4. โครโมโซมคู่ที่ 13 มีจำนวนเกินมา 1 โครโมโซม
5. โครโมโซมคู่ที่ 21 มีจำนวนเกินมา 1 โครโมโซม
8.กลุ่มอาการดาวน์เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่เท่าใด
     1. คู่ที่ 5                           2. คู่ที่ 13
     3. คู่ที่ 18                         4. คู่ที่ 21
     5. คู่ที่ 23
9.สิ่งมีชีวิตในข้อใดนิยมนำมาใช้เป็นเวกเตอร์เพื่อสร้างสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม
1. รา                                2. พืช
3. ไวรัส                             4. สาหร่าย
5. แบคทีเรีย
10.ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอด้านการเกษตร
1. ข้าวที่สามารถผลิตวิตามินเอ
2. ฝ้ายที่ต้านทานแมลงศตรูพืช
3. มะเขือเทศที่ไม่มีการสร้างเอทิลีน
4. วัชพืชที่มียีนต้านทานแมลงศตรูพืช
5. มะละกอที่สามารถสร้างโปรตีนเปลือกหุ้มไวรัส


หน่วยการเรียนรู้ที่ 6
วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. สิ่งมีชีวิตที่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียสมีกี่อาณาจักร
    1. 2  อาณาจักร                2. 3 อาณาจักร
    3. 4 อาณาจักร                 4. 5 อาณาจักร
    5. 6 อาณาจักร
2. สิ่งมีชีวิตใดอยู่ในอาณาจักรมอเนอรา
    1. ยีสต์                          2. มอสส์
    3. อะมีบา                      4. พารามีเซียม
    5. ไซยาโนแบคทีเรีย
3. สิ่งมีชีวิตอาณาจักรใดส่วนใหญ่มีบทบาทเป็นผู้ย่อยสลายซากในระบบนิเวศ
    1. อาณาจักรพืช               2. อาณาจักรสัตว์             
    3. อาณาจักรฟังไจ           4. อาณาจักรมอเนอรา
    5. อาณาจักรโพรทิสตา
4. ข้อใดให้คำจำกัดความของคำว่าซากดึกดำบรรพ์ได้เหมาะสมที่สุด
    1. ซากของสิ่งมีชีวิตที่ตาย             
    2. ซากของสิ่งมีชีวิตที่แข็งตัว  
    3. ซากของสิ่งมีชีวิตที่สูญหาย
    4. ซากของสิ่งมีชีวิตที่ไม่ถูกย่อยสลาย
    5. ซากของสิ่งมีชีวิตที่ผ่านการย่อยสลาย
5.นักวิทยาศาสตร์คนแรกที่เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับการเกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต คือใคร
    1. ฌอง ลามาร์ก              2. ชาลส์ ดาร์วิน
    3. เจมส์ ดี. วัตสัน             4. หลุยส์ ปาสเตอร์
    5. เกรเกอร์ เมนเดล
6.เพราะเหตุใดนกจาบบนหมู่เกาะกาลาปากอสจึงกินอาหารแตกต่างกัน
    1. มีสายพันธุ์แตกต่างกัน
    2. มีศัตรูธรรมชาติต่างกัน 
    3. มีจะงอยปากแตกต่างกัน
    4. มีระบบย่อยอาหารต่างกัน
    5. ช่วงเวลาออกหากินต่างกัน

7.ข้อใดกล่าวถึงสารระสำคัญของทฤษฎีการคัดเลือกโดยธรรมชาติไม่ถูกต้อง
1. สิ่งมีชีวิตแต่ละตัวมีความสามารถในการอยู่รอดเท่ากัน
2. สิ่งมีชีวิตรุ่นลูกที่เกิดมาต้องแก่งแย่งสิ่งจำเป็นเพื่อการอยู่รอด
3.สิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเหมาะสมจะสามารถสืบพันธุ์เพิ่มจำนวน
ลูกหลานต่อไปได้
4.สิ่งมีชีวิตแต่ละตัวมีความสามารถในการถ่ายทอดลักษณะไปยังลูกหลานได้แตกต่างกัน
5. สิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะไม่เหมาะสมจะลดจำนวนลง และไม่
สามารถสืบพันธุ์ให้ลูกหลานต่อได้
8. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการคัดเลือกโดยธรรมชาติ
1. สิ่งมีชีวิตจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
2.สิ่งมีชีวิตอาศัยการปรับตัวทางสรีระและพฤติกรรมเพื่อการอยู่รอด
3.สิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมจะถูกล่าจาก   ผู้ล่าเพิ่มมากขึ้น
4.การคัดเลือกโดยธรรมชาติจะเกิดขึ้นก่อต่อเมื่อมีภัยพิบัติทางธรรมชาติเท่านั้น
5.ลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่ไม่เหมาะสมจะถูกลดจำนวนลงและกลายเป็นสปีชีส์ใหม่
9.สิ่งมีชีวิตในข้อใดมีวิวัฒนาการผ่านการคัดเลือกโดยธรรมชาติผ่านกลไกทางพันธุกรรม
     1. มนุษย์
     2. หอย Cepaea nemoralis
     3. นกจาบบนหมู่เกาะกาลาปากอส
     4. เชื้อพลาสโมเดียมต้านยาปฏิชีวนะ
     5. ผีเสื้อกลางคืน Biston betularia
10. กลไกใดไม่ก่อให้เกิดการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
     1. การกลาย
     2. การอพยพ
     3. ขนาดของประชากร
     4. การคัดเลือกโดยธรรมชาติ
     5. การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ
    

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น