แบบทดสอบชีววิทยา


หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
การเขียนเพื่อการสื่อสาร
คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1.       หากจำแนกสิ่งมีชีวิตโดยใช้การสร้างอาหารเป็นเกณฑ์ สิ่งมีชีวิตในข้อใดต่อไปนี้ต่างจากพวก
1.    รา ยีสต์
2.    เห็ด จุลินทรีย์
3.    ไฮดรา ฟองน้ำ
4.    อะมีบา พารามีเซียม
5.    สาหร่ายสีแดง สาหร่ายสีเขียว
2.       ลักษณะใดไม่น่าจะมีส่วนช่วยให้สิ่งมีชีวิตสามารถดำรงชีวิตและแพร่พันธุ์ได้
1.    ประสิทธิภาพในการสืบพันธุ์
2.    ความสามารถในการหาอาหาร
3.    ความสามารถในการป้องกันแหล่งที่อยู่
4.    ความสามารถในการคงลักษณะของสปีชีส์
5.    ความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม
3.       ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ประโยชน์ของการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ
1.    ทำให้เกิดวิวัฒนาการ
2.    ทำให้สิ่งมีชีวิตมรการพัฒนาสายพันธุ์
3.    ทำให้เกิดความหลายหลายทางชีวภาพ
4.    ทำให้สิ่งมีชีวิตไม่แปรผันทางพันธุกรรม
5.    ทำให้สิ่งมีชีวิตปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดีกว่ารุ่นพ่อแม่
4.       การที่สิ่งมีชีวิตมีความหลากหลายทางชีวภาพมีประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตในด้านใด
1.    ลดการแก่งแย่งที่อยู่อาศัย
2.    ช่วยให้สิ่งมีชีวิตมีอายุยืนขึ้น
3.    ช่วยให้สิ่งมีชีวิตมีขนาดใหญ่ขึ้น
4.    ช่วยให้สิ่งมีชีวิตมีลักษณะเด่นขึ้น
ช่วยให้สิ่งมีชีวิตมีความแข็งแรงขึ้น
  5.       ข้อใดต่อไปนี้กล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการตอบสนองต่อสิ่งเร้า
1.    การหาอาหารถือเป็นการตอบสนองอย่างหนึ่ง
2.    การตอบสนองเกิดขึ้นเพียงครั้งละหนึ่งรูปแบบ
3.    การตอบสนองอาจเกิดขึ้นหลายรูปแบบในเวลาเดียวกัน
4.    การตอบสนองเกิดขึ้นเพื่อการปรับตัวให้เหมาะสมต่อผู้ล่า
5.    การตอบสนองเกิดขึ้นเพื่อการปรับตัวให้เหมาะสมต่อสภาพแวดล้อม
  6. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการรักษา
    ดุลยภาพในร่างกายของสิ่งมีชีวิต
1.    พืชรักษาดุลยภาพน้ำโดยคายน้ำทางปากใบ
2.    พลานาเรียมีเฟรมเซลล์ทำหน้าที่กำจัดของเสีย
3.    ปลาน้ำจืดปัสสาวะข้นเพื่อรักษาดุลยภาพน้ำ
4.    พารามีเซียมใช้คอนแทร็กไทล์แวคิวโอล
ในการรักษาดุลยภาพน้ำภายในเซลล์
5.    ไฮดรากำจัดของเสียโดยที่ของเสียสามารถแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ออกสู่สิ่งแวดล้อมได้โดยตรง

7.       สมมติฐานที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร
1.    สามารถตรวจสอบได้ด้วยการทดลอง
2.    เข้าใจได้ง่าย ไม่มีความชัดเจนมาก และมีเพียงข้อเดียว
3.    เข้าใจได้ง่าย ไม่มีความชัดเจนมาก และมีหลายๆ ข้อเปรียบเทียบกัน
4.    อธิบายปัญหาได้ชัดเจน และนำไปสู่การตรวจสอบได้หลายวิธี โดยไม่จำเป็นต้องตรวจสอบด้วยการทดลองไม่จำเป็นต้องมีขอบเขตที่ชัดเจน ซึ่งสามารถตั้งสมมติฐานได้อย่างกว้างๆ โดยไม่ต้องครอบคลุมข้อมูลต่างๆ
8.       ข้อเท็จจริงที่นำมากำหนดปัญหาในกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นั้น ได้มาโดยอาศัยทักษะใด
1.    การสังเกต
2.    การวิเคราะห์
3.    การลงข้อสรุป
4.    การตั้งสมมติฐาน
5.    การแสดงความคิดเห็น
9.       กลุ่มควบคุมในการทดลองวิทยาศาสตร์ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ทดลองในด้านใด
1.     ช่วยในการตั้งสมมติฐาน
2.     ช่วยยืนยันผลการทดลอง
3.     ช่วยควบคุมตัวแปรต่างๆ
4.     ป้องกันความผิดพลาดในการทดลอง
5.     ช่วยอ้างอิงในการสรุปผลการทดลอง
10.   ข้อใดต่อไปนี้ผิดหลักชีวจริยธรรมในการใช้สัตว์ทดลอง
1.   ก้อยฉีดฮอร์โมนกระตุ้นการตกไข่ให้ปลาที่เลี้ยงไว้เพื่อขาย
2.   กาญปลูกภูมิคุ้มกันในหนูเพื่อสกัดแอนติบอดีไปช่วยเหลือมนุษย์
3.   เมย์ทดลองเกี่ยวกับสารปฏิชีวนะ โดยใช้หนูในการทดลองในจำนวนที่น้อยที่สุด
4.   เหมียวตัดเส้นประสาทเพื่อระงับความรู้สึกของกบก่อนการผ่ากบเพื่อศึกษาระบบต่างๆ
5.   ใหม่ทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ลดรอยคล้ำรอบดวงตาที่คิดค้นขึ้นเองกับกระต่าย จนกระต่ายตาบอด


หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1.       คุณสมบัติของน้ำมีหลยประการ ยกเว้นข้อใด
1.       โมเลกุลของน้ำเป็นโมเลกุลที่มีขั้ว
2.       แสดงได้ทั้งประจุบวกและประจุลบ ทให้เป็นตัวทละลายที่ดี
3.       เกิดจากอะตอมของออกซิเจนกับอะตอมของไฮโดรเจนยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะโคเวเลนต์
4.       แต่ละโมเลกุลของน้ำยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะโคเวเลนต์ ทำให้น้ำมีสถานะเป็นของเหลว
5.       สามารถแตกตัวให้ไฮโดรเจนไอออน H+ และไฮดรอกไซด์ไอออน OH- ซึ่งแสดงสมบัติความเป็นกรด-เบส
2.       น้ำนมของสัตว์มีแร่ธาตุใดอยู่ปริมาณมาก
1.       แคลเซียมและเหล็ก
2.       ไอโอดีนและโซเดียม
3.       แคลเซียมและฟอสฟอรัส
4.       แคลเซียม เหล็ก และโพแทสเซียม
5.       ฟอสฟอรัส เหล็ก และโพแทสเซียม
3.       ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับน้ำตาลมอลโทส
1.       ไม่สามารถละลายน้ำได้
2.       ย่อยได้ด้วยเอนไซม์เพปซิน
3.       โดยทั่วไปจะเรียกว่าน้ำตาลทราย
4.       ประกอบด้วยโมเลกุลที่เล็กที่สุด คือ กลูโคส
5.       มีความหวานมากกว่าน้ำตาลซูโครส 0.4 เท่า
4.    เซลลูโลสพบได้ในส่วนใดของสิ่งมีชีวิต
1.       เส้นผม               
2.       เปลือกกุ้ง
3.       กล้ามเนื้อ           
4.       กระดองปู
            5.   ผนังเซลล์ของพืช
5.    ข้อใดกล่ไม่ถูกต้อง
1.       ในพืช น้ำตาลสามารถเปลี่ยนรูปกลับมาเป็นแป้งได้
2.       คาร์โบไฮเดรตสามารถสะสมในรูปของไกลโคเจนในตับได้
3.       คาร์โบไฮเดรตถูกใช้สหรับผลิตพลังงานในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต
4.       อะไมโลสประกอบด้วยกลูโคสเรียงตัวต่อกันเป็นเส้นยาวที่ไม่มีการแตกแขนง
5.       เซลลูโลสเกิดจากโมเลกุลของกลูโคสเชื่อมกันแบบ
      α (1 6 ) glycosidic bond

6.       พันธะใดที่เชื่อมต่อระหว่างกรดอะมิโนในสายพอลิเพปไทด์ 
1.       พันธะโลหะ
2.       พันธะอะมิโน
3.       พันธะเพปไทด์
4.       พันธะไฮโดรเจน
5.       พันธะไกลโคซิดิก
7.       ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับคุณสมบัติของลิพิด
1.         ช่วยละลายวิตามิน B และ C
2.         ช่วยรักษาความอบอุ่นของร่างกาย
3.         เป็นองค์ประกอบสำคัญของเยื่อหุ้มเซลล์
4.        ช่วยป้องกันการกระทบกระเทือนของอวัยวะภายใน
5.        ไม่ละลายน้ำ แต่สามารถละลายได้ในสารละลายอินทรีย์
8.       วิตามินใดที่ช่วยป้องกันอาการอ่อนเพลีย ป้องกันโรคโลหิตจาง และป้องกันการเกิดความผิดปกติ ของกระบวนการเมแทบอลิซึมของกรดอะมิโนตามลำดับ
1.       B1         B2         B5
2.       B1         B2         B6
3.       B1         B12       B6
4.       B1         B6         B12
5.       B2         B6         B12
9.       ข้อใดไม่ใช่สมบัติของเอนไซม์
1.       ละลายได้ในน้ำและกลีเซอรอล
2.       ทำหน้าที่ลดพลังงานก่อกัมมันต์
3.       ตกตะกอนในแอลกอฮอล์เข้มข้น
4.       เป็นสารประเภทโปรตีนรูปทรงกลม
5.       ทำงานได้ดีเมื่อได้รับความร้อนสูงมาก
10.  ข้อใดกล่ไม่ถูกต้อง
1.       เมื่อความดันเพิ่มขึ้น การเกิดปฏิกิริยาของสารที่เป็นแก๊ส จะเกิดได้เร็วขึ้น
2.       หากสภาวะความเป็นกรด-เบสเปลี่ยนแปลง จะมีผลต่อการทำงานของเอนไซม์
3.       ในสภาวะที่อุณหภูมิต่ำ จะทำให้การเกิดปฏิกิริยาเร็วกว่าสภาวะที่มีอุณหภูมิสูง
4.       สารตั้งต้นที่เป็นของแข็งที่มีพื้นที่ผิวมาก จะเกิดปฏิกิริยาเร็วกว่าสารตั้งต้นที่มีพื้นที่ผิวน้อย
5.       ถ้าสารตั้งต้นเป็นสารละลายที่มีความเข้มข้นสูง จะเกิดปฏิกิริยาเร็วกว่าสารตั้งต้นที่เจือจาง


หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
เซลล์ของสิ่งมีชีวิต
คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1.     เมื่อใช้กล้องจุลทรรศน์ศึกษาวัตถุขนาด 5 ไมโครเมตร แล้วเห็นภาพวัตถุมีขนาด 5 มิลลิเมตร แสดงว่ากล้องนี้มีกำลังขยายเท่าใด
1.     10 เท่า
2.     100 เท่า
3.     500 เท่า
4.     1,000 เท่า
5.     5,000 เท่า
2.     สามารถพบรงควัตถุคลอโรฟิลล์ได้ที่บริเวณใด
1.     บนเยื่อไทลาคอยด์
2.     ทุกบริเวณในเซลล์พืช
3.     ในรูเมนของไทลาคอยด์
4.     ในสโตรมาของคลอโรพลาสต์
5.     เยื่อหุ้มชั้นนอกของคลอโรพลาสต์
3.     ออร์แกเนลล์ใดทำหน้าที่ย่อยสลายสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ภายในเซลล์
1.     ไลโซโซม
2.     ไรโบโซม
3.     นิวเคลียส
4.     ไมโทคอนเดรีย
5.     คลอโรพลาสต์
4.     การลำเลียงเอนไซม์และสารสื่อประสาทออกจากเซลล์ เป็นการลำเลียงสารแบบใด
1.     ออสโมซิส
2.     เอกโซไซโทซิส
3.     เอนโดไซโทซิส
4.     แอกทีฟทรานสปอร์ต
5.     การแพร่แบบฟาซิลิเทต
5.    เซลล์เม็ดเลือดขาวมีกระบวนการทำลายเชื้อโรคโดยวิธีใด
1.     ฟาซิลิเทต
2.     พิโนไซโทซิส
3.     ฟาโกไซโทซิส
4.     เอกโซไซโทซิส
5.     แอกทีฟทรานสปอร์ต

6.    ช่องเล็กๆ ที่เยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์สัตว์ ซึ่งเป็นทางผ่านของสารเคมีโมเลกุลเล็ก มีชื่อว่าอะไร
1.     กรานุม
2.     สโตรมา
3.     แกป จังก์ชัน
4.     นิวเคลียร์พอร์
5.     พลาสโมเดสมาตา
7.     ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส
1.     เป็นการแบ่งเซลล์ที่เกิดในเซลล์สืบพันธุ์
2.     ในระยะโพรเฟสอาจเกิดครอสซิงโอเวอร์
3.     เป็นการแบ่งเซลล์เพื่อสร้างเซลล์สืบพันธุ์
4.     ได้เซลล์ใหม่ 4 เซลล์ที่มีจำนวนโครโมโซมเท่าเดิม
5.     ระยะเมทาเฟสเป็นระยะที่เห็นโครโมโซมได้ชัดเจนที่สุด
8.     การชราสภาพของเซลล์เกิดขึ้นได้อย่างไร
1.     มีการถ่ายทอดโครโมโซมระหว่างเซลล์
2.     มีการลดจำนวนโครโมโซมทุกครั้งที่มีการแบ่งเซลล์
3.     มีการเพิ่มจำนวนโครโมโซมทุกครั้งที่มีการแบ่งเซลล์
4.     มีการเพิ่มขึ้นของส่วนปลายโครโมโซมทุกครั้งที่มีการแบ่งเซลล์
มีการขาดหายไปของส่วนปลายโครโมโซมทุกครั้งที่มีการแบ่งเซลล์
9.     การสลายกลูโคส 1 โมเลกุล ได้พลังงานทั้งหมดกี่ ATP
1.     2 ATP
2.     12 ATP
3.     24 ATP
4.     36 ATP
5.     48 ATP
10.    ออกซิเจนมีบทบาทอย่างไรในการหายใจระดับเซลล์
1.     เป็นตัวรับ ATP ตัวสุดท้าย
2.     เป็นตัวรับ NADH ตัวสุดท้าย
3.     เป็นตัวรับไฮโดรเจนตัวสุดท้าย
4.     เป็นตัวรับอิเล็กตรอนตัวสุดท้าย
5.     เป็นตัวรับคาร์บอนไดออกไซด์ตัวสุดท้าย


หน่วยการเรียนรู้ที่ 4
การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. เพราะเหตุใดเมนเดลจึงเลือกถั่วลันเตาเป็นพืชทดลองการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
   1. สามารถหาได้ง่ายและมีราคาถูก
   2. มีเพียงสายพันธุ์เดียวจึงสะดวกต่อการศึกษา
   3. มีวงจรชีวิตยาวทำให้สามารถศึกษาได้เป็นเวลานาน
   4. มีลักษณะที่แตกต่างกันเพียงไม่กี่ลักษณะจึงง่ายต่อการศึกษา
   5. มีดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศจึงสามารถทำการผสมภายในดอกเดียวกันหรือผสมข้ามต้นได้
2. การผสมพันธุ์ถั่วลันเตาผักสีเขียวกับฝักสีเหลือง ที่เป็นพันธุ์แท้ทั้งคู่ รุ่น F2 ควรมีอัตราส่วนจีโนไทป์เท่าไร
   1. 1: 1                           2. 2 : 1
   3. 3 : 1                          4. 1 : 2 : 1
   5. 2 : 1 : 2
3. ข้อใดต่อไปนี้ไม่กล่าวถูกต้องเกี่ยวกับกฎของเมนเดล
   1. เมนเดลเลือกผสมถั่วลันเตาเพียงลักษณะเดียวเพื่อให้ผลการทดลองไม่คลาดเคลื่อน
   2. ยีนที่แยกออกจากกันสามารถจัดกลุ่มกับยีนอื่น ๆ ได้อย่างอิสระที่แยกออกจากคู่เช่นกัน
   3. แอลลีลที่เป็นคู่กัน เมื่อแยกออกจากกันจะจัดกลุ่มกันอย่างอิสระกับแอลลีลของยินอื่น ๆ
   4. ยีนจะแยกจากกันเมื่อมีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ซึ่งเซลล์สืบพันธุ์จะได้รับเพียงแอลลีลเดียว
   5. เมนเดลตั้งกฎการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม 2 ข้อ คือ กฎการแยก และกฎการรวมกลุ่มอย่างอิสระ
4. กำหนดให้ P แทนถั่วลันเตาดอกสีม่วง และ p แทนถั่วลันเตาดอกสีขาว การผสมระหว่างถั่วลันเตาดอกสีม่วงแบบเฮเทอโรไซกัสกับดอกสีขาว จะมีฟีโนไทป์ของรุ่นลูกอย่างไร
   1. ดอกสีม่วงทั้งหมด                                  
   2. ดอกสีขาวทั้งหมด
   3. ดอกสีม่วง : ดอกสีขาว เท่ากับ 1 : 1 
   4. ดอกสีม่วง : ดอกสีขาว เท่ากับ 3 : 1
   5. ดอกสีขาว : ดอกสีม่วง เท่ากับ 3 : 1
5. ข้อใดต่อไปนี้เป็นลักษณะที่มีการแปรผันแบบต่อเนื่อง
   1. ติ่งหู                           2. ลักยิ้ม
   3. ส่วนสูง                                    4. หนังตา
   5. การห่อลิ้น


6. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับหมู่เลือดระบบ ABO
   1. มีแอลลีลควบคุม 3 แอลลีล
   2. มีการแสดงออกแบบมัลติเปิลแอลลีล
   3. เลือดหมู่ AB มีการแสดงออกแบบข่มไม่สมบูรณ์
   4. แอลลีล IA และ IB จะข่มแอลลีล i อย่างสมบูรณ์
   5. แอลลีล IA และ IB เป็นแอลลีลเด่น ส่วนแอลลีล i เป็นแอลลีลด้อย
7. พ่อมีเลือดหมู่ AB แม่ควรจะมีเลือดหมู่ใดจึงจะมีโอกาสมีลูกที่มีเลือดหมู่ O
   1. หมู่ O                         2. หมู่ A แบบฮอมอไซกัส
   3. หมู่ B แบบฮอมอไรกัส     4. หมู่ B แบบเฮเทอโรไซกัส
   5. ครอบครัวนี้ไม่สามารถมีลูกที่มีเลือดหมู่ O ได้
8. กำหนดให้ลักษณะสีผมถูกควบคุมด้วยยีน 3 คู่ ดังนี้
A B C ควบคุมผมสีดำ และ a b c ควบคุมผมสีขาว
ข้อใดต่อไปนี้กล่าวไม่ถูกต้อง
   1. คนที่มียีน AaBbCc จะมีผมสีดำ
   2. คนที่มียีน AABbcc กับ AaBbCc จะมีผมสีเดียวกัน
   3. คนที่มียีน AABbCc จะมีผมสีเข้มกว่าคนที่มียีน AabbCc
   4. คนที่มียีน AaBbCc จะมีสีผมอยู่กึ่งกลางระหว่างดำกับขาว 
   5. คนที่มียีน AABBCC จะมีผมสีดำ ส่วน aabbcc จะมีผมสีขาว
9. ชายตาบอดสีแต่งงานกับหญิงตาปกติแต่เป็นพาหะของโรคตาบอดสี ลูกชายและลูกสาวจะมีโอกาสเป็นตาบอดสีร้อยละเท่าไร
   1. ลูกชายและลูกสาวร้อยละ 50 ทั้งคู่
   2. ลูกชายและลูกสาวทั้งหมดเป็นตาบอดสี
   3. ลูกชายทั้งหมดตาบอดสี ลูกสาวตาบอดสีร้อยละ 50
   4. ลูกชายตาบอดสีร้อยละ 50 ลูกสาวทั้งหมดตาบอดสี
   5. ลูกชายตาบอดสีร้อยละ 50 ลูกสาวไม่มีโอกาสตาบอดสี
10.การแต่งงานระหว่างชายหญิงคู่ใดไม่มีโอกาสได้ลูกสาวศีรษะล้านเลย
   1. ชายศีรษะล้านกับหญิงศีรษะล้าน
   2. ชายศีรษะล้านฮอมอไซกัสกับหญิงศีรษะล้าน
   3. ชายศีรษะล้านเฮเทอโรไซกัสกับหญิงศีรษะล้าน
   4. ชายศีรษะล้านฮอมอไซกัสกับหญิงศีรษะไม่ล้าน
  5. ชายศีรษะล้านเฮเทอโรไซกัสกับหญิงศีรษะไม่ล้านแบบเฮเทอโรไซกัส


หน่วยการเรียนรู้ที่ 5
ยีนและโครโมโซม
คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. สารใดที่ทำให้แบคทีเรียสายพันธุ์ R เปลี่ยนเป็นแบคทีเรียสายพันธุ์ S
    1. DNA                    2. RNA
    3. DNase                  4. RNase
    5. protein
2. โครโมโซมจะเห็นชัดเจนที่สุดในระยะใดของการแบ่งเซลล์
    1. ระยะโพรเฟส          2. ระยะเมทาเฟส
    3. ระยะเทโลเฟส         4. ระยะแอนาเฟส
    5. ระยะอินเตอร์เฟส      
3. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับโครโมโซม
    1. สิ่งมีชีวิตต่างชนิดกันสามารถมีจำนวนโครโมโซมเท่ากันได้
    2. เทโลเมียร์เป็นส่วนปลายของโครโมโซมที่กำหนดอายุขัยของเซลล์
    3. โครโมโซมของแบคทีเรียประกอบด้วย DNA รูปวงแหวน 1 โมเลกุล
    4. โครโมโซมสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทตามตำแหน่งเซนโทรเมียร์
    5. โครมาทินเกินจากสมดุลประจุลบของโปรตีนฮีสโตนกับประจุบวกของ DNA
4. ข้อใดไม่ใช่โครงสร้างของนิวคลีโอไทด์ของดีเอ็นเอ
    1. เบสไทมีน                2. เบสกวานีน
    3. เบสอะดีนีน              4. หมู่ฟอสเฟต
    5. น้ำตาลไรโบส           
5. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับดีเอ็นเอ
    1. คู่เบสแต่ละคู่มีระยะห่างกัน 34 ¡A
    2. องค์ประกอบเบสของ DNA ในสิ่งมีชีวิตจะคงที่เสมอ
    3. สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะมีปริมาณเบสทั้ง 4 ชนิดเท่ากัน
    4. โมเลกุลดีเอ็นเอจะบิดเป็นเกลียวคู่เวียนทวนเข็มนาฬิกา
    5. ระหว่างเบส A กับเบส T จะจับกันด้วยพันธะไฮโดรเจน 3 พันธะ

6. เบสชนิดใดไม่ใช่องค์ประกอบของอาร์เอ็นเอ
       1. ไทมีน                     2. ยูราซิล
     3. กวานีน                   4. อะดีนีน                
     5. ไซโทซีน
7. ข้อใดไม่ใช่ความแตกต่างระหว่างการสังเคราะห์ DNA กับการสังเคราะห์ mRNA
    1. ชนิดของนิวคลีโอไทด์
    2. บริเวณที่มีการสังเคราะห์
    3. จำนวนของสาย DNA แม่แบบ
    4. ชนิดของเอนไซม์ที่ใช้สังเคราะห์
    5. จำนวนของผลผลิตจากการสังเคราะห์
8. รหัสใดที่ทำให้หยุดการสังเคราะห์สายพอลิเพปไทด์
    1. UAU                            2. UAC
    3. UAA                            4. AUG
    5. UGU
9. กำหนดให้ DNA สายหนึ่งมีลำดับ ดังนี้
   3’ ATTACTCATAGTTTATTGT 5’
  พอลิเพปไทด์สายนี้ประกอบด้วยกรดอะมิโนกี่ตัว
     1. 3 ตัว                     2. 4 ตัว
     3. 5 ตัว                     4. 6 ตัว
     5. 7 ตัว
10. กระบวนการใดมีผลต่อความผิดปกติของจำนวนโครโมโซม
    1. การแทนที่คู่เบส
    2. การเกิดอินเวอร์ชัน
    3. การไขว้เปลี่ยนของโครโมโซม
    4. การไม่แยกจากกันระหว่างการแบ่งเซลล์
       5. การเพิ่มขึ้นหรือขาดหายของนิวคลีโอไทด์

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6
พันธุศาสตร์และเทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ
คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. เอนไซม์ชนิดใดมีคุณสมบัติในการเชื่อมสาย DNA ที่ถูกตัด
    1. DNA polymerase        
    2. RNA polymerase
    3. restriction enzyme      
    4. RNA ligase enzyme
    5. DNA ligase enzyme
2. ข้อใดเป็นคุณสมบัติสำคัญของแบคทีเรียที่ใช้เป็นพาหะในการโคลนยีน
    1. มียีนต้านทานยาปฏิชีวนะ
    2. เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีเซลล์เดียว
    3. มีลำดับนิวคลีโอไทด์ไม่ซับซ้อน
    4. เป็นสิ่งมีชีวิตที่เพิ่มจำนวนได้เร็ว
    5. มีจำนวนโครโมโซมหลายชุดในเซลล์เดียว
3. การโคลนโดยอาศัยแบคทีเรีย มีข้อดีกว่าการโคลนด้วยเทคนิค PCR อย่างไร
    1. มีความรวดเร็วสูง
    2. มีความจำเพาะสูง
    3. สามารถจำกัดจำนวนได้
    4. สามารถซ่อมแซมส่วนที่ผิดปกติได้
    5. สามารถนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ง่ายกว่า
4. การทำ PCR จำนวน 8 รอบ จะได้จำนวน DNA กี่โมเลกุล หากเริ่มต้นเพียง DNA โมเลกุลเดียว
    1. 16 โมเลกุล                  2. 64 โมเลกุล
    3. 128 โมเลกุล                4. 256 โมเลกุล
    5. 512 โมเลกุล
5.พลาสมิด Ti ที่ใช้ในการดัดแปรพันธุกรรมพืชได้จากแบคทีเรียชนิดใด
    1. B. subtilis                  2. A. cylindrical
    3 C. botulinum.             4. A. tumefaciens          
    5. P. aeruginosa
6.ฮอร์โมนชนิดใดสามารถตัดต่อพันธุกรรมให้ผลิตในแบคทีเรียได้
    1. กลูคากอน                  2. เอนดอร์ฟิน
    3. อะดรีนาลิน                4. โกรทฮอร์โมน
    5. แอลโดสเตอโรน

7. จากลายพิมพ์ดีเอ็นเอที่กำหนดให้ ข้อใดกล่าวได้ถูกต้อง



     1. หมายเลข 1 คือ พ่อของลูก
    2. หมายเลข 2 คือ พ่อของลูก
    3. หมายเลข 3 คือ พ่อของลูก
    4. หมายเลข 1, 2 และ 3 ไม่ใช่พ่อของลูก
    5. ข้อมูลที่กำหนดให้ไม่เพียงพอต่อการระบุ
8. การตัดต่อยีน BT จากแบคทีเรียเข้าสู่พืชจะมีผลต่อพืชอย่างไร
    1. สร้างวิตามินเอ
    2. ยับยั้งการสร้างเอทิลีน
    3. ทำลายตัวอ่อนของแมลง
    4. ต้านทานเชื้อไวรัสบางชนิด
    5. ต้านทานสารปราบวัชพืชบางชนิด
9. การสร้างพืชดัดแปรพันธุกรรมจะใช้เทคนิคใดในการเพิ่มจำนวนพืช
    1. การติดตา                        2. การปักชำ
    3. การตอนกิ่ง                      4. การเพาะเมล็ด
    5. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
10.ข้อใดไม่ใช่มาตรการป้องกันผลเสียที่อาจเกิดจากการใช้เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ
    1. การป้องกันการติดเชื้อของนักวิจัย
    2. การประเมินความปลอดภัยจากหลายองค์กร
    3. การห้ามทำการทดลองที่เป็นอันตรายอย่างชัดเจน
      4. การขายเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีส่วนผสมของสิ่งมีชีวิตดัด
แปรพันธุกรรม
 5. การทำให้สายพันธุ์ที่ดัดแปรพันธุกรรมไม่สามารถมีชีวิตรอดภายนอกห้องปฏิบัติการ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 7
วิวัฒนาการ
คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. หลักฐานในข้อใดเป็นหลักฐานที่ละเอียดที่สุดในการระบุความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต
    1. ชีวภูมิศาสตร์               2. ซากดึกดำบรรพ์          
    3. เอ็มบริโอเปรียบทียบ      4. ชีววิทยาระดับโมเลกุล
    5. กายวิภาคเปรียบเทียบ
2. โครงสร้างในข้อใดจัดเป็นโครงสร้างที่มีต้นกำเนิดต่างกัน
    1. ขาแมว ปีกค้างคาว
    2. แขนมนุษย์ ขาแมว
    3. ปีกผีเสื้อ ปีกค้างคาว
    4. ขาแมว ครีบหน้าของแมว
    5. แขนมนุษย์ ครีบหน้าของวาฬ
3. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ H. sapaiens
    1. มีการอยู่ร่วมกันเป็นชุมชน
    2. มีสมองขนาด 600-750 ลบ. ซม.
    3. มีการกินผักและผลไม้เป็นส่วนใหญ่
    4. พบในแถบเอเชียบริเวณหมู่เกาะชวา
    5. มีความสามารถในการวาดภาพ แกะสลักกระดูก
4. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับแนวคิดวิวัฒนาการของลามาร์ก
    1. สิ่งมีชีวิจจะอาศัยการปรับตัวเพื่อการอยู่รอด
    2. อวัยวะที่มีการใช้งานมากจะเสื่อมหายไปในที่สุด
    3. ลักษณะที่หายไปจะไม่ถูกถ่ายทอดไปสู่รุ่นลูกหลาน
    4. อวัยวะใดที่ไม่ได้ใช้งานจะอ่อนแอ และเสื่อมลงในที่สุด
    5. สิ่งมีชีวิตจะถูกคัดเลือกโดยธรรมชาติให้อยู่หรือสูญพันธุ์
5. ข้อใดกล่าวถึงแนวคิดการคัดเลือกโดยธรรมชาติของดาร์วินได้ถูกต้อง
    1. สิ่งมีชีวิตจะปรับตัวด้านต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมที่อาศัยอยู่
    2. สิ่งมีชีวิตแต่ละตัวจะสามารถอยู่รอด และให้กำเนิดลูกหลานได้เท่ากัน
    3. สิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะไม่เหมาะสมจะสามารถอยู่รอด แต่ไม่สามารถสืบพันธุ์ได้
    4. การคัดเลือกโดยธรรมชาติเป็นกลไกเดียวเท่านั้นที่ทำให้สิ่งมีชีวิตเกิดวิวัฒนาการ
    5. การคัดเลือกโดยธรรมชาติเกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ด้วยกัน

6. ในป่ามีประชากรลิง 1,000 ตัว ประกอบด้วยหมู่เลือด M 740 ตัว หมู่เลือด MN 160 ตัว และหมู่เลือด N 100 ตัว ประชากรลิงกลุ่มนี้มีจีโนไทป์ M และ N อย่างละเท่าใด
    1 0.54 และ 0.46.           2. 0.62 และ 0.38          
    3. 0.74 และ 0.26           4. 0.82 และ 0.18
    5. 0.86 และ 0.14
7. ประชากร 10,000 คน พบว่า เป็นโรคผิวเผือก 16 คน ประชากรกลุ่มนี้มีความถี่ของแอลลีลที่เป็นพาหะของโรค  ผิวเผือกร้อยละเท่าใด
    1. ร้อยละ 6.48               2. ร้อยละ 7.68
    3. ร้อยละ 8.56               4. ร้อยละ 10.86
    5. ร้อยละ 12.56
8. ข้อใดไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของประชากรที่อยู่ในภาวะสมดุลของฮาร์ดี-ไวน์เบิร์ก
    1. มีการกลายของยีนในประชากร
    2. มีการถ่ายเทเคลื่อนย้ายยีนในประชากร
    3. มีการอพยพเข้าและออกในกลุ่มประชากร
    4. มีการคัดเลือกโดยธรรมชาติในกลุ่มประชากร
    5. มีการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศในกลุ่มประชากร
9. การเปลี่ยนแปลงความถี่ของแอลลีลรูปแบบใดทำให้เกิดการปรับตัวของประชากรให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม
    1. การกลาย
    2. การเลือกคู่ผสมพันธุ์
    3. การถ่ายเทเคลื่อนย้ายยีน
    4. การคัดเลือกโดยธรรมชาติ
    5. การเปลี่ยนแปลงความถี่ยีนอย่างไม่เจาะจง
10. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช้สาเหตุของการเกิดสปีชีส์ใหม่
    1. การแบ่งแยกทางภูมิศาสตร์
    2. การแบ่งแยกทางพฤติกรรม
    3. การแบ่งแยกทางสรีระวิทยา
    4. การแบ่งแยกทางนิเวศวิทยา
    5. การแบ่งแยกทางการสืบพันธุ์

     

4 ความคิดเห็น: